Sunday, February 10, 2013

การปฏิบัติในช่วงผลแก่และเก็บเกี่ยว

การปฏิบัติในช่วงผลแก่และเก็บเกี่ยว



กุมภาพันธ์

เป็นระยะผลเริ่มแก่และเก็บเกี่ยว นับเวลาจากดอกบานถึงผลแก่ ประมาณ 75 วัน ขึ้นกับพันธุ์และสิ่งแวดล้อม (อุณหภูมิความชื้น)
 การให้น้ำ ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอและลดปริมาณให้น้อยลงเมื่อผลเริ่มแก่ แต่ต้องสม่ำเสมอเพื่อป้องกันผลแตกเมื่อมีฝนหลงฤดู
 การใส่ปุ๋ย ในระยะที่มะปรางเริ่มเข้าไคล ควรใส่ปุ๋ยเพิ่มคุณภาพของผล คือใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 13-13-21 อัตรา 1-2 กิโลกรัม/ ตัน
 และปุ๋ยทางใบ สูตร 13-0-46 หรือ 10-20-30 อัตรา 2-3 ช้อนแกง/ น้ำ 20 ลิตร ฉีด 2 ครั้ง ห่างกัน 1 สัปดาห์ การป้องกันและ
กำจัดโรคแมลง ควรมีการห่อผลเพื่อป้องกันแมลงวันผลไม้ และนกจิกกิน

กุมภาพันธ์ - มีนาคม
เป็นระยะการเก็บเกี่ยวผลผลิต การเก็บเกี่ยว ควรเก็บเกี่ยวผลที่แก่ คือมีลักษณะบริเวณขั้วของผลจะมีสีเหลืองเข้ม
โดยใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เก็บผลให้มีก้านติดมาด้วยอย่างน้อย 4-5 เซนติเมตร แล้วนำมาไว้ที่ร่ม
ระวังจะช้ำเนื่องจากมะปรางเป็นผลไม้ผิวบาง



การขยายพันธุ์มะปราง / มะยงชิด

 
มะปรางเป็นไม้ผลที่มีการเจริญเติบโตช้า ขยายพันธุ์ได้ยากและใช้เวลาในการขยายพันธุ์ยาวนานกว่าไม้ผลที่สำคัญบางชนิด
เช่น มะม่วง ส้มโอ และขนุน อย่างไรก็ตามมะปรางสามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี เช่น การเพาะเมล็ด การตอน การทาบกิ่ง
 การต่อกิ่ง การติดตา และการปักชำ ซึ่งการเพาะเมล็ดมีข้อจำกัดตรงที่มีการกลายพันธุ์จากมะปรางหวานอาจกลายเป็น
มะปรางเปรี้ยวหรือหวานอมเปรี้ยว และจากมะปรางผลใหญ่อาจกลายเป็นมะปรางชนิดผลเล็ก มีส่วนน้อยที่การกลายพันธุ์
ไปในทางที่ดีกว่าต้นพ่อแม่พันธุ์ และนอกจากนี้การปลูกจากต้นเพาะเมล็ดจะใช้เวลาประมาณ 8 ปี จึงจะเริ่มออกดอกติดผล
 การตอนมีข้อจำกัดตรงที่กิ่งตอนจะไม่มีรากแก้ว จะต้องมีการเสริมรากภายหลัง ส่วนการทาบกิ่ง การต่อกิ่งและการติดตา
จะต้องดำเนินการเพาะต้นตอมะปรางก่อน และการปักชำนั้นจะได้ต้นกล้าที่ไม่มีรากแก้ว จะต้องมีการเสริมมากภายหลังเช่นกัน
การ ขยายพันธุ์มะปรางที่นิยมปฏิบัติกันมากในขณะนี้จะเป็นการทาบกิ่งและการต่อ กิ่ง ซึ่งการขยายพันธุ์แต่ละวิธีมีวิธีการปฏิบัติดังต่อไปนี้

การเพาะเมล็ด
การขยายพันธุ์โดยวิธีการเพาะเมล็ด เป็นวิธีที่ง่ายและสามารถขยายพันธุ์มะปรางได้จำนวนมาก มีข้อเสียที่มีการกลายพันธุ์

การตอน
เป็นวิธีการทำให้มะปรางออกรากในขณะที่กิ่งยังติดอยู่กับต้นพันธุ์ดี เป็นวิธีที่ปฏิบัติมานานแล้ว แต่มีข้อจำกัดที่กิ่ง
ตอนไม่มีรากแก้ว การเพาะเมล็ดหรือต้นทาบกิ่งอาจเจริญเติบโตช้า หรือโค่นล้มได้ง่าย

การทาบกิ่ง
เป็นวิธีการขยายพันธุ์มะปรางที่นิยมปฏิบัติมากที่สุดเพราะจะได้ต้นมะปรางพันธุ์ดีที่ระบบรากแก้วจากต้นตอ
สามารถคัดเลือกกิ่งพันธุ์ดีได้ค่อนข้างใหญ่และยาวกว่ากิ่งปักชำ ให้มีการกลายพันธุ์และให้ผลผลิตเร็วประมาณ 4 - 5 ปี
หลังจากปลูก นอกจากนี้การทาบกิ่งมะปรางให้เทคนิคและความชำนาญน้อยกว่าการต่อยอด และการติดตา
ทั้งนี้เพราะทั้งกิ่งพันธุ์และต้นตอมะปรางต่างก็มีรากคอยเลี้ยงต้นเดิม อยู่แล้ว โดยที่ต้นตอมะปรางที่ใช้ทาบกิ่ง
จะปลูกอยู่หรือถูกอัดขุยมะพร้าวที่มีความชื้นอยู่เสมอในถุงพลาสติกหรือในภาชนะพลาสติกขนาดเล็ก
ส่วนของกิ่งพันธุ์ดีก็เป็นต้นมะปรางที่ปลูกอยู่กับต้นอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามการทาบกิ่งมีข้อจำกัดตรงที่จะต้อง
มีการเพาะกล้าต้นมะปรางเป็นต้นตออายุ 6 เดือน - 1 ปีก่อน จึงนำมาทาบกิ่งได้

การต่อกิ่งหรือการเสียบยอด
การต่อกิ่ง หรือการเปลี่ยนยอดมะปราง เป็นวิธีการขยายพันธุ์มะปรางที่นิยมปฏิบัติมากอีกวิธีหนึ่ง สามารถขยายพันธุ์ได้ปริมาณมาก
และเป็นการประหยัดกิ่งพันธุ์ดีหรือยอดพันธุ์ดีได้ดีกว่าการตอนและการทาบกิ่ง

การติดตา
เป็นการนำตาของมะปรางที่สมบูรณ์เพียงตาเดียวจากต้นพันธุ์ดีไปสอดใส่ลงบนส่วนของมะปรางอีกต้นหนึ่งซึ่งเป็นต้นตอ
และเมื่อส่วนของมะปรางทั้งสองเชื่อมติดกันและเจริญเติบโตเป็นต้นเดียวกันแล้ว จากตาพันธุ์ดีเพียงตาเดียวจะทำหน้าที่
เป็นยอดของต้นใหม่และมีส่วนต้นตอเป็นรากของมะปรางต้นใหม่ด้วย ต้นตอมะปรางที่จะนำมาติดตานั้นควรเป็นต้นตอ
ที่ใส่ถุงเลี้ยงอยู่ในเรือนเพาะชำอายุ 1 - 2 ปี หรือเป็นต้นตอเพาะเมล็ดที่ปลูกลงแปลง ในสภาพสวนแล้ว 1 - 2 ปี
ก็สามารถติดตาได้ การติดตามะปรางนั้นต้องใช้ความชำนาญค่อนข้างสูง ตามะปรางบอบซ้ำได้ง่าย ผู้ติดตาต้องใช้มีดที่คม
สะอาดและปฏิบัติด้วยความระมัดระวัง

การปักชำ
มะปรางเป็นไม้ผลที่มีกิ่งหรือยอดเล็ก ๆ จำนวนมาก สามารถนำมาปักชำให้ออกรากเป็นมะปรางต้นใหม่ได้
ไม่มีการกลายพันธุ์ประหยัดยอดพันธุ์ได้ดีกว่าการตอนและการทาบกิ่ง และสามารถขยายพันธุ์ได้จำนวนมาก

 


ปฏิทินการปฏิบัติดูแลรักษา

ปฏิทินการปฏิบัติดูแลรักษา

การปฏิบัติเพื่อเตรียมความสมบูรณ์ของต้นหลังเก็บเกี่ยว

เมษายน-พฤษภาคม

 เป็นช่วงหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต จึงต้องเร่งบำรุงต้นให้สมบูรณ์ จึงเริ่มต้นจาก การตัดแต่งกิ่ง โดยตัดกิ่งที่โรคแมลงทำลายเสียหาย
เช่น กิ่งแห้ง กิ่งฉีกหัก กิ่งน้ำค้าง กิ่งซ้อนกันออก การกำจัดวัชพืช โดยทำความสะอาดแปลงและกำจัดวัชพืช การใส่ปุ๋ย
จะใส่เมื่อตัดแต่งกิ่งและกำจัดวัชพืชแล้ว ใส่ปุ๋ยเพื่อเร่งการแตกยอดใหม่ โดยใส่ปุ๋ยคอก อัตรา 1-3 ปี๊ป / ต้น ใส่ปุ๋ยเคมี
สูตร 15-15-15 อัตรา 2 กิโลกรัม/ ต้น การให้น้ำ ให้น้ำตามปกติอย่าปล่อยให้ขาดน้ำ

มิถุนายน - สิงหาคม
 เป็นระยะที่มะปรางแตกใบอ่อนและเจริญเติบโตทางใบ จึงเน้น การป้องกันกำจัดโรคและแมลง โดยเฉพาะโรคแอนแทรคโนส
ราดำ ราแป้ง ซึ่งจะทำลายใบและกิ่ง ถ้ามีการระบาดแนะนำให้ใช้ ้เบนโนมิล แคพแทน แมนโคเซป ส่วนแมลงที่ทำลายใบและลำต้น
 เช่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยหอย แมลงค่อมทอง เพลี้ยจั๊กจั่น ถ้ามีการระบาดแนะนำให้ใช้สารเคมีป้องกันจำพวก คาร์บาริล การให้น้ำ
ให้น้ำถ้าฝนทิ้งช่วง อายุ 1 ปีขึ้นไป ให้น้ำ 5-7 วัน/ ครั้ง การกำจัดวัชพืช  ดูแลอย่าให้วัชพืชขึ้นรก เพราะจะเป็นแหล่งสะสมโรคแมลง

กันยายน - ตุลาคม 
เป็นระยะที่ใบเริ่มแก่จัด ต้นมะปรางจะเข้าสู่ ระยะฟักตัวและสะสมอาหาร การปฏิบัติดูแลรักษาช่วงนี้ ควรงดการให้น้ำ
ถ้าเป็นในที่ลุ่ม ปลูกแบบยกร่อง ให้ลดระดับน้ำในร่อง เพื่อให้พืชฟักตัวสะสมอาหารและไม่แตกใบอ่อน การใส่ปุ๋ย
ใส่ปุ๋ยเพื่อช่วยในการสร้างตาดอก ใช้สูตร 12-24-12 และ งดการใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง ถ้าต้นมะปรางอายุ 4-5 ปี
ใส่ปุ๋ยอัตรา 0.5 กิโลกรัม/ ต้น การกำจัดวัชพืช ให้กำจัดวัชพืชใต้ทรงพุ่มออกให้หมด




การปฏิบัติในช่วงการออกดอกติดผลอ่อน


พฤศจิกายน

เป็นช่วงระยะเริ่มแทงช่อดอกและดอกเริ่มบานในช่วงปลายเดือน ดังนั้น การให้น้ำ จะต้องระมัดระวัง โดยเริ่มให้น้ำเล็กน้อย
เมื่อแทงช่อดอกยาวประมาณ 7 เซนติเมตร แค่หน้าดินเปียกและให้อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ดอกมีความสมบูรณ์
ซึ่งจะทำให้ติดผลดี การป้องกันกำจัดโรคแมลง ควรป้องกันกำจัดแมลงประเภทเพลี้ยไฟ เพลี้ยหอย แมลงค่อมทอง
ครั้งที่ 2 ช่อดอกยืดแล้วแต่ยังไม่บาน การปฏิบัติอื่นๆ  เช่น ในช่วงที่มะปรางเริ่มแทงช่อดอก ให้นำปุ๋ยคอกสด ๆ มากอง
ในสวนเพื่อเลี้ยงแมลงวัน สำหรับช่วยในการผสมเกสร

ธันวาคม
เป็นระยะที่ดอกทยอยบานและติดผลขนาดเล็ก จึงต้องปฏิบัติดูแลรักษาเป็นกรณีพิเศษ โดย การให้น้ำ
เมื่อติดผลแล้วให้เพิ่มปริมาณน้ำมากขึ้นที่ละน้อย อย่าให้แบบทันที่ซึ่งอาจมีผลต่อการร่วงของผลอ่อน การใส่ปุ๋ย 
เมื่อติดผลอ่อนขนาดหัวไม้ขีด ให้ใส่ปุ๋ยเร่งการเจริญเติบโตของผล คือ ใส่ปุ๋ยเคมีที่มีตัวท้ายสูง เช่น 13-13-21
 อัตรา 1-2 กิโลกรัม/ ต้น (ประมาณตามอายุ/ขนาดของทรงพุ่ม) การป้องกันกำจัดโรคแมลง เมื่อดอกบาน
ให้หยุดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคแมลงทุกชนิดทันที ระยะผลโตขนาดหัวไม้ขีด ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง
 เช่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยหอย โดยใช้คาร์บาริล และผสมสารเคมีป้องกันกำจัดโรครา เช่น เบนโนบิล ไธอะเบนดาโซล
ป้องกันโรคแอนแทรคโนส ราดำ ราแป้ง


การปฏิบัติในช่วงผลกำลังเจริญเติบโต





มกราคม

เป็นระยะที่ผลกำลังเจริญเติบโต การให้น้ำ ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ 3-5 วัน/ครั้ง การป้องกันกำจัดโรคแมลง
ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง เช่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยหอย โดยใช้คาร์บาริล และผสมสารเคมีป้องกันกำจัดโรครา
 เช่น เบนโนบิล ไธอะเบนดาโซล ป้องกันโรคแอนแทรคโนส ราดำ ราแป้ง ให้ห่อผลเมื่อผลอายุ 3 อาทิตย์
เพื่อป้องกันแมลงวันผลไม้ นก และเพื่อเพิ่มคุณภาพผล

ลักษณะดอก มะปรางหรือมะยงชิด

ลักษณะดอก มะปรางหรือมะยงชิด

ดอก
ดอกมะปรางจะมีลักษณะเป็นช่อเกิดบริเวณปลายกิ่งแขนงที่อยู่ภายในทรงพุ่มและนอกทรง พุ่ม
ช่อดอกยาว 8-15 เซนติเมตร ดอกย่อมมีขนาดเล็กประกอบด้วยดอกสมบูรณ์เพศ หรือดอกกระเทยและดอกตัวผู้
ดอกเมื่อบานจะมีสีเหลือง ในประเทศไทยดอกมะปรางจะบานช่วงเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม





ลักษณะผล มะปรางหรือมะยงชิด

ผล
มะปรางมีลักษณะทรงกลมรูปไข่ ปลายค่อนข้างเรียวแหลม มะปรางช่อหนึ่งจะมีผล 1-15 ผล
รูปร่างและขนาดของผลมะปรางจะแตกต่างกันในแต่ละพันธุ์ ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อนเมื่อแก่หรือสุกผลจะเปลี่ยน
เป็นสีเหลืองหรือเหลืองอมส้ม เปลือกผลนิ่ม



ลักษณะเมล็ด มะปรางหรือมะยงชิด

เมล็ด
มะปรางผลหนึ่งจะมี 1 เมล็ด ส่วนหุ้มเมล็ดจะเป็นเส้นใย เนื้อของเมล็ดมีสีชมพูอมม่วง
มีรสขมและฝาดใน 1 เมล็ดสามารถเพาะกล้าเป็นต้นมะปรางได้ 1 ต้น




ความแตกต่างของมะปรางหวานกับมะยงชิด


ลักษณะโดยรวม
 โดยทั่วไปแล้ว มะปรางกับมะยงชิด เป็นพื้ชในกลุ่มเดียวกัน ทั้งนี้เนื่องจากมีการปลูกโดยเมล็ดและมีการกลายพันธุ์
ทำให้มีลักษณะที่แสดงออกแตกต่างกันไป จึงทำให้มะปรางถูกเรียกแยกออกเป็นหลายกลุ่ม เช่น มะปรางหวาน
มะยงชิดมาก มะยงชิดน้อย มะปรางเปรี้ยว กาวาง ซึ่งจะเห็นว่า การแบ่งลักษณะมะปรางออกเป็นกลุ่มได้ 5 กลุ่ม
โดยใช้ลักษณะรสชาดเป็นหลัก และขนาดผลร่วมด้วย ซึ่งลักษณะทรงพุ่ม ขนาดของใบ การเรียงตัวของใบ เส้นใบ
สีของยอดอ่อน รสของยอดอ่อน ยังไม่มีใครศึกษาลักษณะเหล่านี้เพื่อคัดแยกกลุ่มของมะปราง และจากการแยก
ของเกษตรกร หรือนักวิชาการ บุคคลทั่วไป ก็ไม่ใช้ลักษณะเหล่านี้ เนื่องจากใช้ลักษณะเหล่านี้แล้วแยกออกไม่เด่นชัด 
นอกเหนือจากรสชาดและขนาดผล เท่านั้น

มะปรางหวาน

1. ผลดิบมีรสมัน
2. ผลสุกมีรสหวาน-หวานจืด
3. โดยรวมขนาดจะเล็กกว่ามะยงชิด
4. บางสายพันธุ์เมื่อทานแล้วจะคันคอ
5.ผลสุกจะมีสีออกเหลือง



มะยงชิด

1. ผลดิบมีรสเปรี้ยว
2. ผลสุกมีรสหวานอมเปรี้ยว
3. โดยรวมผลจะมีขนาดใหญ่กว่ามะปรางหวาน
4. โดยรวมไม่ทำให้เกิดอาการคันคอ
5. ผลสุกจะมีสีออกเหลืองอมส้ม

มะปรางหวาน

มะยงชิด - มะปรางหวาน





ลักษณะโดยทั่วไป ของมะปรางหรือมะยงชิด


มะปราง เป็นไม้ผลที่มีทรงต้นค่อนข้างแหลมถึงทรงกระบอกมีกิ่งก้านสาขาค่อนข้างทึบ มะปรางเป็นไม้ผลเมืองร้อนไม่มีการผลัดใบคือ
จะมีใบสีเขียวตลอดทั้งปี มีชื่อสามัญว่า Marian plum ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Boueaburmanica Griff. ตระกูลเดียวกันมะม่วง มะกอก
คือ ตระกูล Amacardiaceae มีถิ่นกำเนิดทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ พม่า ไทย ลาว และมาเลเซีย ส่วนต่างๆ
ของมะปรางมีลักษณะดังนี้





ลักษณะลำต้นมะปรางหรือมะยงชิด


ลำต้น

 มะปรางเป็นไม้ผลที่มีทรงต้นค่อนข้างแหลมถึงทรงกระบอกมีกิ่งก้านสาขาค่อนข้างทึบ ทรงต้นมีขนาดสูงปานกลาง-ใหญ่
ประมาณ 15-30 เมตร มีระบบรากแก้วเข็งแรง จึงทนอยู่ในสภาพที่แห้งแล้งได้ดี


ลักษณะใบ มะปรางหรือมะยงชิด

ใบ
มะปรางเป็นไม้ผลที่มีใบมากแน่นทึบ ใบคล้ายใบมะม่วงแต่มีขนาดเล็กกว่า และใบเรียวยาว
ขนาดใบโดยเฉลี่ยกว้าง 3.5 เซนติเมตร ยาว 14 เซนติเมตร ใบจะเกิดเป็นคู่อยู่ตรงกันข้าม ขอบใบเรียบแผ่นใบเหนียว
 ใบอ่อนที่แตกออกมาใหม่ๆ จะมีสีม่วงแดง มีเส้นใบเด่นชัด จากนั้นค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเขียวเป็นมัน ปีหนึ่งมะปรางจะแตกใบอ่อน 1-3 ครั้ง





Tuesday, November 20, 2012

เทคนิคการปลูกและการผลิตมะยงชิดคุณภาพดีสวนสมหมาย จ.พิจิตร

เทคนิคการปลูกและการผลิตมะยงชิดคุณภาพดีสวนสมหมาย จ.พิจิตร

หลาย คนคงไม่ทราบว่า จ.พิจิตรเป็นแหล่งผลิตมะยงชิดพันธุ์ดีที่ใหญ่ที่สุดของ ประเทศ เฉพาะเขตพื้นที่ ต.วังทับไทร อ.สากเหล็ก มีพื้นที่ปลูกมะยงชิดพันธุ์ ดีประมาณ 2,000 ไร่ ผลผลิตมะยงชิดของจังหวัดพิจิตร เป็นที่ต้องการของ ตลาด เพราะผลใหญ่ เนื้อแข็ง และมีรสชาติหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อยผลผลิตส่วน ใหญ่จะมีพ่อค้าเป็นจำนวนมากมารับซื้อเพื่อขายตลาดในประเทศและมีบางส่วนส่งไป ขายยังต่างประเทศ



สวน สมหมาย นับเป็นมะยงชิดรายใหญ่ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด มีพื้นที่ปลูกมะยงชิดพันธุ์ดีที่ให้ผลผลิตเต็มที่ประมาณ 200 ไร่ อายุต้นตั้งแต่12-20ปี ปละที่ยังไม่ให้ผลผลิตเต็มที่ประมาณ 200 ไร่ อายุต้นตั้งแต่ 12-20 ปี และที่ยังไม่ให้ผลผลิตเต็มที่อีกจำนวนหนึ่ง ปัจจุบัน คุณนคร บัวผัน บ้านเลขที่ 56/1 ม.1 ต.วังทับไทร อ.สากเหล็ก จ.พิจิตร 66160 โทร. 086-2067205 เป็นผู้จัดการสวน

สวนสมหมาย เกิดขึ้นเพราะความพยายามของคุณพ่อสมหมาย บัวผัน (เสียชีวิตแล้ว) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2523 โดยเริ่มจากการนำมะม่วงพันธุ์เพชรบ้านลาดมาปลูก จนประสบความสำเร็จ เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ต่อมาในปี พ.ศ.2527 ได้ไปซื้อพันธุ์มะยงชิด หลากหลายสายพันธุ์ มาทดลองปลูก โดยคิดว่าต่อไปเมื่อมีคนปลูกมะม่วงเพิ่มมากขึ้น อาจทำให้ราคาผลผลิตตกต่ำลง จึงได้เริ่มศึกษาพันธุ์มะยงชิดจากที่ต่างๆ พบว่ามะยงชิดพันธุ์ไข่ไก่ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีกว่า มะยงชิดพันธุ์อื่นๆ จึงได้ตัดสินใจขยายพันธุ์มะยงชิดพันธุ์ไข่ไก่ไปปลูกแซมในสวนมะม่วง

เหตุผลที่เลือกปลูกมะยงชิดพันธุ์ไข่ไก่ :

คุณนคร แนะนำว่าการปลุกมะยงชิดและการเลือกสายพันธุ์ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่นั้นมี ความสำคัญมาก สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก่อนตัดสินใจเลือกพันธ์ปลูกก็คือ จะต้องเป็นพันธุ์ที่ติดผลง่าย ผลมีขนาดใหญ่ เมล็ดเล็ก เนื้อแน่น รสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่อง เนื้อนแนจะได้เปรียบมะยงชิดจากแหล่งอื่น
**เพราะถ้าเนื้อแน่นจะสามารถวางขายผลผลิตในตลาดได้ยาวนานกว่าพันธุ์ที่มีเนื้อนิ่ม พ่อค้า แม่ค้าจะชอบมาก ผู้บริโภคติดใจ



เทคนิคการปลูกและการดูแลรักษามะยงชิดสวนสมหมาย จ.พิจิตร :

เทคนิคการปลูกและการดูแลรักษามะยงชิดสวนสมหมาย จ.พิจิตร :

การปลูกมะยงชิด พื้นที่ปลูกนับเป็นปัจจัยหลักที่มีความสำคัญมาก เพราะเป็นตัวกำหนดคุณภาพของผลผลิต ให้ออกมาต่างกัน เช่น มะยงชิดที่ปลูกในพื้นที่ดินนาหรือพื้นที่ลุ่มน้ำผลจะใหญ่ผิวมีสีเหลือง แต่เนื้อจะนิ่มออกเละ รสชาติไม่เข้มข้นเพราะดินนาเป็นดินเหนียว เป็นดินที่เก็บความชื้นไว้นาน จึงทำให้ผลผลิตที่ได้มีรสชาติไม่เข้มข้น ส่วนดินลูกรังนั้นจะได้เปรียบเรื่องรสชาติ รสชาติจะเข้มข้นและผิวผลออกสีเหลืองส้มเข้มกว่า

การปลูกและการดูแลรักษามะยงชิดสวนสมหมาย :

การปลูกจะต้องเริ่มต้นจากการกำหนดระยะปลูกให้เหมาะสม ที่แนะนำคือ 8*8 เมตร โดยในช่วงแรกอาจปลูกแซมพืชอื่นไปก่อน กว่าต้นมะยงชิดจะให้ผลผลิตเต็มที่ก็เมื่อมีอายุประมาณ 7-8 ปี และผลผลิตจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามอายุของต้น ซึ่งโดยปกติแล้วชาวสวนจะมีเคล็ดลับและวิธีการดูแลต้นมะยงชิดให้ออกดอกติดผล ต่างกันไป แต่ที่สวนสมหมายจะมีการแต่งกิ่งในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน ตัดแต่งกิ่งที่แห้งตาย กิ่งที่เบียดชิดกันและกิ่งที่อยู่ในร่มเงา ตัดแต่งเสร็จใส่ขี้วัวเก่าต้นละ 2-3 กระสอบปุ๋ย ส่วนปุ๋ยเคมีจะใช้สูตร 8-24-24 อัตราต้นละ 1-2 กิโลกรัม โดยใส่ในช่วงเดือนกรกรกฎาคม – เดือนกันยายน เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับต้นก่อนการออกดอก
** เมื่อถึงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคมและมีอากาศหนาวเย็นติดต่อกัน 7-10 วัน ยอดของมะยงชิดจะพัฒนาเป็นตาดอกและจากระยะดอกจนถึงเก็บผลผลิตจะใช้ระยะเวลา เพียง 85-90 วัน ในแต่ละปีมะยงชิดจะออกดอก 2- 3 รุ่น รุ่นแรก จะออกดอกเดือนพฤศจิกายน เละไปเก็บผลผลิตประมาณปลายเดือนมกราคม รุ่นที่ 2 จะออกดอกช่วงเดือนธันวาคม ไปเก็บผลผลิตเอาช่วงปลายเดือนกุมภาพันธุ์ แต้ถ้าปีไหนอากาศเย็นนานจะมีรุ่นที่สามคือดอกจะออกต้นเดือนมกราคม และไปเก็บผลผลิตเดือนมีนาคม



หลังจากเริ่มแทงช่อดอกจะต้องดูแลเป็นพิเศษ ทางดินควรมีการให้น้ำทุก 5- 7 วัน (ขึ้นอยู่กับความชื้นในสวน การให้น้ำมากไปจะทำให้เนื้อผลมะยงชิดเละ) จนกว่าผลอ่อนจะมีขนาดเท่ากับหัวแม่มือ จึงเริ่มงดการให้น้ำ ใน เรื่องของสารเคมีที่จำเป็นต้องใช้ ในช่วงที่กำลังแทงช่อดอกหรือแตกใบอ่อน เนื่องจากในระยะดังกล่าวจะพบว่ามีศัตรูที่สำคัญคือเพลี้ยไฟและโรคที่สำคัญ คือโรคแอนแทรคโนส ซึ่งที่สวนจะใช้สารเคมีในช่วงนี้มาก เพราะต้องการ ควบคุมคุณภาพของผลผลิตให้ได้และต้องเลือกใช้สารเคมีที่ปลอดภัยตา,มาตรฐาน GAP สารเคมีที่แนะนำให้ฉีดพ่นป้องกันเพลี้ยไฟคือ สารอะบาเม็กติน เช่น แจคเก็ต โดยฉีดพ่น 2 ครั้ง คือ ระยะก่อนดอกยานและระยะหลังดอกโรยในช่วงที่ดอกบาน จะไม่มีการฉีดพ่นสารเคมีใดๆ ทั้งสิ้น ส่วนโรคแอนแทรคโนส จะใช้สารเคมีกลุ่มโปรคลอราช ฉีดพ่นในช่วงก่อนดอกบาน ส่วนหลังจากดอกโรยจะใช้สารแมนโคเซป เช่น เพนโคเซป และ โปรคลอราชสลับกัน โยจะฉีดพ่นจนกว่าผลจะมีขนาดเท่าหัวแม่มือหรือยู่ในระยะสลัดผลจึงหยุดฉีด ***เป็น ที่น่าสังเกตว่า คุณนคร บัวผัน จะไม่นิยมใช้ปุ๋ยหรือฮอร์โมนเร่งขนาดผลเลย เพราะการใช้ปุ๋ยมากๆ อาจทำให้เนื้อของมะยงชิดดเละและไม่แน่น

การเก็บเกี่ยวผลผลิตมะยงชิดพันธุ์ดี : จะ ต่างกันไปแล้วแต่ความต้องการของตลาดถ้าเป็นตลาดในประเทศจะเก็บที่ความแก่ เกือบ 100% คือ เก็บไปแล้วรับประทานได้เลย โดยสังเกตจากผิวเปลือก จะต้องออกเหลืองส้มเกือบทั้งผล รสชาติจะหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย แต่ถ้าเก็บส่งตลาดต่างประเทศจะต้องเก็บเกี่ยวที่ความแก่ประมาณ 90% คือ ผิวจะออกสีจำปา แต่ยังไม่ทันแดง เพราะการส่งตลาดต่างประเทศใช้ระยะเวลานานต้องผ่านหลายขั้นตอน ตัวอย่างของประเทศในเขตยุโรป ต้องใช้ระยะเวลาในการผ่านกระบวนการต่างๆ ประมาณ 7 วัน ถ้าเก็บที่ความแก่เต็มที่ เมื่อถึงปลายทางเนื้อจะเละวางขายได้ไม่นาน

คุณภาพของผลผลิต คือ หัวใจในการผลิตมะยงชิดพันธุ์ดี : ที่สวนสมหมายจะเน้นทุกขั้นตอนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องการเก็บผลผลิต จะใช้กรรไกรตัดผลหรือใช้มือเก็บเท่านั้น ผู้ที่เก็บจะต้องมีความชำนาญและประณีต ต้องดูลักษณะผลว่าเป็นผลแก่หรือผลอ่อน ต้องทำงานด้วยความระมัดระวัง เพราะถ้าเก็บแรงผลจะช้ำก่อนถึงมือผู้บริโภคผลจะเละ เรื่องการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่หลายสวยใช้ตะกร้อสำหรับสอยมะม่วงมาเก็บผล มะยงชิด จะทำให้ได้ผลที่ช้ำสีผิวไม่สวย เวลาขายจะขายไม่ได้ราคา เพราะผลมีตำหนิ
อนาคตการตลาด เมื่อสอบถามถึงเรื่องการ ตลาดในอนาคตคุณนคร ตอบด้วยความมั่นใจว่า แม้จะมีผู้ขยายพื้นที่ปลูกมากขึ้นแต่ตลาดก็ยังดี เพราะมะยงชิด เป็นไม้ผลที่บังคับให้ออกดอกนอกฤดูไม่ได้ต้องอาศัยธรรมชาติเท่านั้น ซึ่งโดยปกติแล้วมะยงชิดจะเริ่มออกสู่ตลาดจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พอหมดก็จะเลื่อนมาที่ปราจีนบุรี นครนายก เข้าสู่ เขตภาคกลาง ต่อจากภาคเหนือตอนล่าง คือ พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย กำแพงเพชร และ สุดท้ายที่เชียงใหม่ ผลผลิตจะถูกควบคุมโดยธรรมชาติผลผลิตจะออกไม่พร้อมกัน
ราคามะยงชิดพันธุ์ดีที่สวนสมหมายจะตั้งราคาไว้มาตรฐานเหมือนกันทุกปี จะไม่ต่างกันมากนักโดยคัดเป็นเบอร์ดังนี้
- เบอร์ 1 ขนาดผล 13 -15 ผล ต่อ กิโลกรัม ขายส่งเฉลี่ยกิโลกรัมละ 80 – 100 บาท
- เบอร์ 2 ขนาดผล 16- 17 ผล ต่อกิโลกรัม ขายส่งเฉลี่ยกิโลกรัมละ 60 – 70 บาท
- เบอร์ 3 ขนาดผล 18 ผล ต่อ กิโลกรัม ขายส่งกิโลกรัมละ 30 -40 บาท
- ผลเล็กหรือตกเกรด ขายรวมกิโลกรัมละ 20 บาท

ด้านตลาดต่างประเทศจะใช้มะยงชิดเกรด1 แต่จะต้องคัดผลที่ผิวสวยจริงๆ ขายได้กิโลกรัมละ 150 บาท แต่การเก็บส่งออกต้องมีความประณีตมาก นอกจากนั้นยังมีตลาดบน คือ ส่งขายตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำ เช่น TOPs Supermaket จะบรรจุกล่องจากสวนส่งขายในลักษณะสั่งซื้อพิเศษ ซึ่งสวนสมหมายจะคัดผลบรรจุกล่องสวยงามขายเป็นของฝากให้ผู้สนใจในราคากล่องละ 150 บาท (น้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม) ผู้ใดสนใจติดต่อโดยตรงที่เบอร์ คุณนคร บัวผัน โทร.086-2067205
คุณนครยังกล่าวทิ้งท้ายด้วยว่า “ผมว่ามะยงชิดไข่ไก่เป็นไม้ผลที่มีอนาคต เพราะใช้ทุนในการผลิตต่ำที่สำคัญผมคิดตามแนวทางของพ่อสมหมายที่สอนไว้ว่าถ้า เราขายมะยงชิดไข่ไก่ได้แค่กิโลกรัมละ 10-15 บาท ก็พอใจแล้วไม่ต้องคิดว่าจะบายได้กิโลกรัมละ 80 บาท หรือ 100 บาท เพราะถ้าพึงวันที่ราคามะยงชิดไข่ไก่ตกลงมาเหลือ 10 หรือ 15 บาท เราก็ยังขายผลผลิตได้ง่ายกว่ามะยงชิดพื้นบ้านที่มีผลขนาดเล็กกว่า

การปลูกมะยงชิดพันธุ์ตาพ้อม(พันธุ์ทูลถวาย)มะยงชิดลูกใหญ่สุโขทัย

การปลูกมะยงชิดพันธุ์ตาพ้อม(พันธุ์ทูลถวาย)มะยงชิดลูกใหญ่สุโขทัย

มะยงชิด จัดว่าเป็นผลไม้ที่นิยมปลูกกันมากในปัจจุบัน เพราตลาดมีความต้องการสูง ผล ผลิตมีราคาแพง เฉลี่ยแล้ว 100-300บาทต่อกิโลกรัม นอกจากตลาดภายในประเทศ แล้ว โอกาสการทำตลาดต่างประเทศก็ยังมีอนาคตที่สดใส หากเกษตรกรท่านใดมีความ สนใจจะปลูกมะยงชิด เพื่อการค้าหรือปลูกไว้รับประทานผลหรือเป็นของฝาก ทดลอง ปลูกมะยงชิดพันธุ์ตาพ้อมท่านจะไม่ผิดหวัง



สวนตาพ้อมเป็นสวนเกษตรผสมผสานที่มีการพัฒนาให้ทัน ยุคสมัย ตั้งอยู่ในส่วนของภาคเหนือตอนล่าง ของ จ.สุโขทัยและเป็นสวนที่มีชื่อเสียงเป็นลำดับต้นๆ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีของคนทั่วไป สวนแห่งนี้มีเนื้อที่ 13 ไร่ ติดแม่น้ำยมฝั่งตะวันตก ขึ้นไปทางทิศเหนือจากอำเภอสวรรคโลก 3 กิโลเมตร เรียกว่าบ้านป่ามะม่วง หมู่ 3 ตำบลวังพิณพาทย์ อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย อดีตผู้เป็นเจ้าของเคยทำงานสำนักข่าวสารอเมริกัน ถ.สาธรใต้ และเคยรับราชการในหน่วยงานการประปาส่วนภูมิภาค กรมโยธาธิการ กระทรวงมหาดไทย แต่ด้วยความเป็นผู้รักธรรมชาติเป็นทุนเดิม และรักงานอิสระมากกว่า จึงลาออกมาประกอบอาชีพทำสวน ด้วยการเริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ.2530 จากการปลูกไม้ผลผสมผสาน นานาชนิด และ ปลูกมะยงชิดเป็นไม้ประธานอย่างเช่น ส้มโอ สะเดานอกฤดู และ กระท้อนกำมะหยี่ ซึ่งทำชื่อเสียงให้เจ้าของสวนได้เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป

ปัจจุบันไม้ผลรองประธานได้ถูกโค่นและนำออก จนเกือบเหลือแต่มะปราง มะยงชิดเท่านั้น ในเนื้อที่ 13 ไร่ จะมีมะปราง มะยงชิด อายุ 20 ปี 15 ปี และ 10 ปี ตามลำดับต่อการปลูกก่อนหลัง เกือยทั้งหมด ตาพ้อม จะเน้นปลูกมะยงชิด โดยเหตุผล คือ มะยงชิดมีแน้วโน้มที่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศมีความต้องการมากกว่า
จะทำอะไรเดี๋ยวนี้ต้องมืออาชีพ หมดยุคอาจารย์กู้แล้วครับ การทำสวนไม้ผล ต้องเลือกปลูกไม้ผลที่ให้ค่าตอบแทนสูงและมีตลาดรองรับ มีอายุยืนยาวนาน แมลงศัตรูพืชรบกวนน้อย



ถ้า พูดถึงมะปราง-มะยงชิด ผลใหญ่ ในขณะนี้ถือได้ว่า เป็นผลไม้ทองคำ ก็ว่าได้ ทั้งราคาผลผลิต และราคาต้นพันธุ์ที่ดี อีกทั้งยังเป็นผลไม้ที่คนซื้อไม่ได้กิน คนกินไม้ได้ซื้อ ถือ เป็นของฝากเสียเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นราคาจึงเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรหันมาปลูกมะปราง-มะยงชิดกันมากขึ้นใน ปัจจุบัน
สวนตาพ้อมผู้พัฒนามะยงชิด สู่ไม้ผลมีระดับ เกือบ 20 ปีที่ตาพ้อมได้คลุกคลีและบุกเบิก ปลูกมะยงชิด ผลใหญ่พันธุ์ดี ครั้งรำ พ.ศ.2530 ได้นำกิ่งทาบพันธุ์ดีจากบางขุนนนท์ กรุงเทพมหานคร จากคำบอกเล่าของอาจารย์สุทิน มาศทอง เจ้าของต้นและกิ่งพันธุ์เดิมที่ที่สวนบางขุนนนท์ ตาพ้อมได้นำมาปลูกที่ อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย และได้ขยายพันธุ์ปลูกเป็นลำดับ จนประสบความสำเร็จอีกครั้งในเรื่องของการปลูกมะยงชิดจนมีชื่อเสียงและเป็น ที่รู้จักของคนทั่วไป จนได้รับการคัดเลือกให้เป็นเกษตรกรดีเด่น จ.สุโขทัย และได้รับโล่สิงห์ทอง ผู้นำอาชีพก้าวหน้าระดับจังหวัดสุโขทัย ของกรมพัฒนาชุมชนกระทรวงมหาดไทย อีกทั้งโทรทัศน์ทุกช่องของเมืองไทย ได้มาสัมภาษณ์ถ่ายทำเป็นสารคดี เพื่อเผยแพร่ภาพเป็นวิทยาทานแก่เกษตรกรทั่วไป ตลอดจนหนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ เดลินิวส์ นิตยสารต่างๆ ได้นำภาพและบทสัมภาษณ์ไปตีพิมพ์ เพื่อเผยแพร่เป็นวิทยาทานอีกทางหนึ่งด้วย
หากพูดถึงผลไม้ทองคำ คือ มะยงชิด ที่ขึ้นชื่อในภาคเหนือ เห็นจะเห็นสวรตาพ้อม ที่อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย ที่เลื่องชื่อในเรื่องของรสชาติ และ คุณภาพจนได้รับรางวัลการันตีมากมาย เช่น ได้รับรางวังชนะเลิศอันดับ 1 ในงานประกวดมะปราง-มะยงชิด ภาคเหนือตอนล่าง ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก ประจำปี 2550 และอีกหลายรางวัลจากการประกวดมะปราง – มะยงชิด ในระดับจังหวัดสุโขทัย
การปลูกมะยงชิดพันธุ์สวนตาพ้อม

การปลูก

- คัดเลือกกิ่งพันธุ์ที่สมบูรณ์ แข็งแรง ไม่เป็นโรคและไม่มีแมลงรบกวน
- เตรียมดินปลูกโดยขุดหลุมปลุกให้มีความกว้าง 50 ซม. ยาว 50 ซม. ลึก 50 ซม.
แล้วผสมดินแกลบดำกับปุ๋ยรองก้นหลุม ให้เข้ากัน นำกิ่งพันธุ์ลงปลูก ด้วยความระมัดระวัง อย่าให้ดินในถุงชำหรือตุ้มดินแตก โดยให้มีลักษณะการปลูกแบบกระทะคว่ำ
- ระยะห่างระกว่างแถวและระหว่างต้นที่เหมาะสมสำหรับการปลูกมะยงชิด คือ 7 * 7 เมตร ระยะปลูกดังกล่าวจะทำให้ทรงพุ่มใหญ่เต็มที่ ซึ่งจะส่งผลต่อการให้ผลผลิตของมะยงชิดอีกด้วย

เทคนิคการปลูกมะยงชิดสวนตาพ้อม :

จากประสบการณ์การทำสวนไม้ผลมากว่า 20 ปี และ รางวัลการันตีอีกมากมาย ทำให้ตาพ้อมมีเทคนิคในการทำสวนไม้ผลมากมาย โดยเฉพาะมะยงชิด ตาพ้อมจะมีวิธีการปลูก คือ ปลูกเป็นแถวนระหว่างต้น 7*7เมตร บางแปลงก็ปลูกแบบสลับฟันปลา โดยระยะแรกที่ลงปลูกจะปลูกกล้วยแซมด้วย เพื่อให้กล้วยเติบโตให้ร่มเงาแก่มะยงชิด มะยงชิดจะอาศัยร่มเงากล้วยอยู่ 3 ปี จึงค่อยโค่นกล้วยออก บางแปลงก็ปลูกมะยงชิดในร่มเงาของไม้ผล ส่วนที่อยู่กลางแจต้งจะใช้ซาปลนคลุมพรางแสง ทุกต้นจะมีระบบน้ำหยดและระบบน้ำแบบสปริงเกอร์ การเตรียมหลุมปลูกในทางปฏิบัติจะขุดหลุมแบบวงกลม ให้มีรัศมี 50 เซนติเมตร ลึก 50 เซนติเมตร ก็เพียงพอ ก้นหลุมผสมด้วยดินหมักหรือปึ๋ยคอกพอประมาณ ปลูกมะยงชิดตื้นลักษณธกระทะคว่ำ ปักไม้ค้ำยันกันลม พร้อมกับให้น้ำเพื่อให้ต้นนั้นชื้นอยู่เสมอ เนื่องจากมะยงชิดเป็นพืขที่ต้องการน้ำมาก แต่ไม่ชอบน้ำท่วมแฉะหรือขัง ในขณะที่ต้นยังเล็ก