Tuesday, October 23, 2012

มะปรางผลไม้แสนอร่อย


มะปรางผลไม้แสนอร่อย

สำหรับ มะปราง ที่เป็นผลไม้ ที่นำมารับประทานนั้น ที่มีรสชาติ ที่มีรสเปรี้ยวอมหวาน ที่อร่อยไม่แพ้การรับประทานผลไม้ ชนิดอื่นๆ อีกด้วย เพราะว่ามะปรางนั้น เป็นผลไม้ เมืองร้อน ที่มีการออกผล ส่วนมากในช่วงหน้าร้อน ที่จะมีผลออกมาให้เรา ได้นำมารับประทาน กันอย่างอร่อย
ลักษณะของมะปราง
สำหรับมะปรางนั้น จะมีลำต้น ที่มีขนาดปานกลาง ไม่ใหญ่มากเกินไป โดยจะ มีกิ่งก้านสาขาที่มี ความทึบ เมื่อมีการแตกกิ่งก้าน ออกมา ส่วนรากของ มะปรางนั้น จะมีความแข็งแรงเป็นอย่างมากเลย
ส่วนใบ ของมะปราง นั้นจะมีลักษณะ ใบที่มีความเรียวยาว ส่วนขนาดของใบ นั้น จะมีความยาว ประมาณ 14 เซนติเมตร ส่วนความกว้าง ของใบนั้น จะกว้าง 3 เซนติเมตร  ภายใน 1 ปี ต้นมะปรางจะมีการ แตกใบออกมาใหม่ ประมาณ ปีละ 3 ครั้ง
ส่วนดอก ของมะปราง โดย ดอกนั้น จะมีการออกดอก เป็นช่อ โดยมีการออกดอก ตามกิ่งก้าน ใบ  โดยในดอกของ มะปรางนั้น จะมีทั้งเกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมีย อยู่ด้วยกัน เมื่อเวลา ที่ดอกบาน ออกมา จะมีสีเหลือง มองดูแล้วสวยงาม
ส่วนลักษณะของ ผล มะปราง ที่จะมีความกลมยาว เหมือนกับไข่ ส่วนปลายเรียวแหลม มะปรางช่อหนึ่ง จะให้ผลผลิตประมาณ  1-10 ผล ผลดิบ ของมะปรางจะ มีสีเขียวอ่อน-เขียวเข้ม เมื่อถึงเวลา ที่ผลสุกมีสีเหลือง หรือเหลืองอมส้ม ส่วนเปลือก ของมะปรางนั้น จะไม่แข็ง มีความนิ่ม  ส่วนเนื้อภายในผลนั้น จะมีสีเหลือง สีส้ม เมื่อเรานำมารับประทาน จะมีรสชาติ ที่หวานอมเปรี้ยวนิด และมีความอร่อย อีกด้วย
ส่วนเมล็ด ของ มะปราง นั้น ในหนึ่งผล จะมีเมล็ด เพียงแค่ 1 เม็ดเท่านั้น  โดยส่วนของ เมล็ดจะมีเส้นใย อยู่ที่เมล็ดอีกด้วย ส่วนเนื้อของเมล็ด จะมีทั้งสีขาว และสีชมพูอมม่วง ซึ่งจะมี รสขมฝาด และขม เราสามารถนำ เมล็ดมะปรางไปเพาะปลูก ได้อีกด้วย

เรียบเรียงโดย : kakukgroup.com
ขอบคุณบทความจาก : pennisakowaim-a.blogspot.com

สวนมะปราง ตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง


ท่องเที่ยวสวนมะปราง ตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง “ไร่บุญชอบ เอมอิ่ม” จังหวัดสุโขทัย

จังหวัด สุโขทัย นับเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีพื้นดินอุดมสมบูรณ์ที่สามารถปลูกพืชผัก ผลไม้ตามฤดูกาลได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะไม้ผลกึ่งเมืองร้อน จะปลูกได้ดีในจังหวัดสุโขทัย


     ลุงบุญชอบ เอมอิ่ม จึงได้ศึกษาและพัฒนาสายพันธุ์มะปราง มะยงชิด จากพื้นที่อื่นมาปลูกในจังหวัดสุโขทัย จนได้มะปรางสายพันธุ์สุโขทัยแท้ มีลักษณะเด่น 5 ประการ ได้แก่ ผลใหญ่เท่าไข่เป็ด ผิวเลือกหนาแข็งไม่ช้ำง่าย เนื้อแน่นไม่มีเสี้ยนในเนื้อ เมล็ดเล็กและแบนลีบ รสชาติหวานสนิทไม่ระคายคอสำหรับมะปรางหวาน และ หวานอมเปรี้ยว สำหรับมะยงชิด จึงได้รับรางวัลมากมายจากหลายสถาบัน

     นอกจากมีผลผลิตไว้จำหน่ายแล้ว สวนมะปรางสวนบุญชอบ ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ในลักษณะสวนไม้ผลผสมผสาน ที่ดำเนินงานตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของกรมการศึกษานอกโรงเรียน

    นักท่อง เที่ยวสามารถชมและชิมผลไม้ได้จากสวนแห่งนี้อย่างจุใจ ซึ่งมะปราง และมะยงชิด จะให้ผลในระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม กิจกรรมท่องเที่ยวประกอบด้วย รับฟังบรรยายเกี่ยวกับการดำเนินงานของสวน หลังจากนั้น นักท่องเที่ยวจะได้ชมพรรณไม้ การจัดสวนและวิธีการปลูกไม้ผลต่างๆท่ามกลางบรรยากาศร่มรื่น แวะชิมผลไม้ในสวน (เฉพาะในฤดูกาล)

     การเดินทาง จากตัวเมืองสวรรคโลกใช้ทางหลวงหมายเลข 101 อ.สวรรคโลก-อ.ศรีสำโรง ระหว่าง กม. 9-10 เลี้ยวซ้ายตามทางแยกไปวัดกรงทองประมาณ 2.5 กม. สวนบุญชอบ เอมอิ่ม จะอยู่ซ้ายมือ

     สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ลุงบุญชอบ เอมอิ่ม โทรศัพท์ มือถือ 08-1888-1739 ททท.สำนักงานสุโขทัย 055 616 228-9 โทรสาร 055 616 366 Email :
tatsukho@tat.or.th

งานมะยงชิด มะปรางหวาน ของดี นครนายก

งานมะยงชิด มะปรางหวาน ของดี นครนายก

งานมะยงชิด มะปรางหวาน  ของดี นครนายก


          มะยงชิด  มะปรางหวาน  หนึ่งผลผลิตทางการเกษตรคุณภาพ  ซึ่งผู้มาเยือนเมืองน้ำตก  “จังหวัดนครนายก”  ในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม จะไม่พลาดเลือกซื้อเป็นของฝากก่อนเดินทางกลับบ้านทุกครั้ง นายสุทธิพงษ์  จุลเจริญ  ผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก  เปิดเผยว่าเพื่อประชาสัมพันธ์แหล่งผลิตมะยงชิด  มะปรางหวานคุณภาพ  รสชาติอร่อยให้เป็นที่รู้จัก  รวมทั้งสนับสนุนให้กลุ่มชมรมมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการตลาดเพื่อสร้างอาชีพ และรายได้สู่ท้องถิ่น ส่งเสริมกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงเกษตรให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง 

          ชมรมชาวสวนมะปรางจังหวัดนครนายก  ร่วมกับจังหวัดนครนายก  โดย สำนักงานเกษตรจังหวัด    กำหนดจัดงานมะยงชิด  มะปรางหวาน ของดีนครนายก   ณ บริเวณเขื่อนขุนด่านปราการชล ซึ่งในปีนี้ย้ายสถานที่จากปีที่แล้วที่เคยจัดบริเวณข้างศาลากลางจังหวัด นครนายก

          สำหรับผลผลิตของมะปรางหวาน-มะยงชิดของจังหวัดนครนายกมีจำนวนถึง 2 รุ่น  โดยรุ่นที่ 2 จะเริ่มทยอยสุกประมาณต้นเดือนกุมภาพันธ์และมีปริมาณมากกว่ารุ่นแรกเนื่องจาก อากาศหนาวเย็นส่งผลให้มะปรางออกดอกและติดผลจำนวนมาก จึงมีความเหมาะสมที่จะจัดงานมะยงชิด มะปรางหวาน ของดีนครนายก ในช่วงนี้เป็นอย่างยิ่ง


          สำหรับหลายท่านที่ยังไม่รู้จักมะยงชิด ขออธิบายสั้นๆถึงที่มาและความต่าง ดังนี้  “มะยงชิด - มะปรางหวาน”   มะปราง  มี 2 ชนิด  นั้นคือ  มะปรางหวาน  ผลสุกมีรสหวานเย็น  ผลยาวรี  กิโลกรัมมีประมาณ 9 – 20 ผล      มะปรางเปรี้ยว  ผลสุกลูกมีขนาดใหญ่ หนึ่งกิโลกรัมมีประมาณ  5 – 15 ผล  สีผิวมีสีส้มชวนรับประทานแต่รสชาติเปรี้ยวมากจนมีคนเก่าคนแก่ท่านกล่าวไว้ ว่า  “เปรี้ยวจนกาวาง”  แต่มะปรางเปรี้ยวผลดิบอ่อน ๆ  นำไปแช่อิ่ม  มะยง   รสชาติมีสองรสในหนึ่งผล - มีหวานอมเปรี้ยว หากรสมะยงรสชิดไปทางหวานมากกว่าเปรี้ยวจะเรียก  “มะยงชิด” หากรสชิดไปทางเปรี้ยวมากกว่าหวาน  จะเรียก “มะยงหรือมะยงห่าง” ผลของมะยงจะมีขนาดใหญ่กว่ามะปรางหวานและใหญ่กว่าไข่ไก่ ขนาด  8–15 ผล/กิโลกรัม   

          สำหรับผู้ที่มาท่องเที่ยวจังหวัดนครนายก เพื่อมาท่องเที่ยวในงาน สามารถไปท่องเที่ยวต่อในแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียงได้  อาทิ  หมู่ บ้านไม้ดอกไม้ประดับ  องครักษ์,  ศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ- ศึกษาและเรียนรู้ตามทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ, เขื่อนขุนด่านปราการชล- ระบบชลประทานที่สมบูรณ์แบบ  สร้างประโยชน์นานัปการให้กับเกษตรกร,  เที่ยวชมเขตทหารน่าเที่ยว – โรงเรียนเตรียมทหาร และโรงเรียนนายร้อย จปร.,  สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้าน  ขอพรพระคู่เมือง อาทิ  พระพุทธฉาย(วัดเขาชะโงก),  วัดใหญ่ทักขิณาราม,  วัดดง,  วัดโพธินายก
         จากนั้นพักสายตาด้วยกิจกรรมเที่ยวสวนมะยงชิด มะปรางหวาน  ศึกษาวิถีชีวิตชาวสวน  เลือกซื้อผลผลิตและกิ่งพันธุ์จากชาวสวนโดยตรง ภายในงานมีกิจกรรมที่น่าสนใจ  อาทิ
          1.    ชมการประกวดมะยงชิด  มะปรางหวาน  มะปรางยักษ์  กิ่งพันธุ์คุณภาพ   การประกวดธิดามะปรางหวาน 
          2.    เลือกซื้อมะยงชิด  มะปรางหวาน  และกิ่งพันธุ์คุณภาพจากชาวสวนโดยตรง 
          3.    เลือกซื้อของดีสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์จังหวัดนครนายก

 

 

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่   ชมรมชาวสวนมะปรางจังหวัดนครนายก โทร.08-9750-5242,  08-1762-4082
และสำนักงานเกษตรจังหวัดนครนายก  โทร.0-3731-1289
ติดต่อสอบถามข้อมูล/เส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงก่อนเดินทางได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย   สำนักงานนครนายก
โทร. 0-3731-2282, 0-3731-2284  ตั้งแต่เวลา  08.30 – 16.30 น. 

“มะยงชิด มะปรางหวาน”

 

“มะยงชิด มะปรางหวาน” ผลมีลักษณะยาวรีคล้ายไข่ไก่ ผลดิบสีเขียวสด ผลสุกมีสีส้ม เมล็ดสีม่วง จังหวัดนครนายก ได้ชื่อว่าเป็นเมืองเกษตรกรรมที่มีทรัพยากรธรรมชาติ ที่สมบูรณ์ ส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรมีคุณภาพ รสชาติอร่อย มีความหลากหลาย โดยเฉพาะผลไม้ เช่น ส้มโอ, มังคุด, กระท้อน, ทุเรียน, ลองกอง, กล้วย, ส้มเขียวหวาน และผลไม้ที่สร้างชื่อให้กับจังหวัดอย่างมาก นั้นคือ “มะปรางหวาน – มะยงชิด”

มะปรางมี 2 รส คือ หวานจัดกับเปรี้ยวจัด แบ่งเป็น มะปรางหวาน - ผลสุกมีรสหวานเย็น ผลยาวรี, มะปรางเปรี้ยว - ผลสุกลูกมีขนาดใหญ่ ผิวสีส้มชวนรับประทาน แต่รสชาติเปรี้ยวมาก จนมีคนเก่าคนแก่ท่านกล่าวไว้ว่า “เปรี้ยวจนกาวาง” แต่มะปรางเปรี้ยวผลดิบอ่อนๆ นำไปแปรรูปเป็นผลไม้ดอง และนำไปแช่อิ่ม สร้างมูลค่าเพิ่ม ให้กับเกษตรกรอีกทางหนึ่ง

มะยง รสชาติแปลก มีสองรสในหนึ่งผล “หวานอมเปรี้ยว” หากมะยง รสชิดไปทางหวานมากกว่าเปรี้ยวจะเรียก “มะยงชิด” หากรสชิดไปทางเปรี้ยว มากกว่าหวาน จะเรียก “มะยง หรือมะยงห่าง” ผลของมะยงจะมีขนาดใหญ่ กว่ามะปรางหวาน และหากบำรุงดูแลอย่างดี ผลจะใหญ่กว่าไข่ไก่ด้วย นับผล 8–15 ผล เป็นหนึ่งกิโลกรัม ราคาเฉลี่ย 100 – 300 บาท

ด้วยรสชาติของผลไม้ขึ้นชื่อ ของเมืองนครนายก ที่มีความหลากหลาย เนื้อนุ่มกรอบ สีสดน่ารับประทาน จึงเป็นผลผลิตทางการเกษตร เป็นที่ต้องการของตลาด ส่งผลให้เกษตรกรชาวสวนจังหวัดนครนายก เอาใจใส่บำรุงและดูแลสวนมะปราง ให้มีผลผลิตที่มีคุณภาพและราคาย่อมเยา


ททท.ภาคกลางเขต 8 (นครนายก) ขอเชิญนักท่องเที่ยว จัดวางโปรแกรมเสริม ชมแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร “สวนมะปรางหวาน มะยงชิด” ในจังหวัดนครนายก ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - เดือนมีนาคม โดยจัดวางเส้นทางท่องเที่ยวอย่างง่ายๆ หาเวลาเดินทาง สัก 2 วัน 1 คืน เดินทางออกจากบ้านแต่เช้า ถึงจังหวัดนครนายก ขับรถชมตลาดหลากสีสัน “หมู่บ้านไม้ดอกไม้ประดับ คลอง 15” แหล่งเพาะพันธุ์ไม้ดอกไม้ ประดับใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

ท่องเที่ยวในเขตทหารน่าเที่ยว “โรงเรียนเตรียมทหาร” และ“โรงเรียนนายร้อย จปร.”, ไหว้พระศักดิ์สิทธิ์ และชมสถาปัตยกรรม ของศาสนสถาน เช่น วัดพระพุทธฉาย, อุโบสถวัดใหญ่ทักขิณาราม, ขอพรหลวงพ่อปากแดง วัดพราหมณี, สักการะและชมความงาม ขององค์พระแก้วมรกตจำลอง ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ณ วัดคีรีวัน, เรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง “ศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ” ช่วงเย็นก่อนพลบค่ำ เข้าที่พักเลือกโรงแรมหรูหรือรีสอร์ท หลากหลายบรรยากาศ มีให้เลือกมากกว่า 40 แห่ง

เช้าวันใหม่ของวันที่สอง ชมความยิ่งใหญ่ ในน้ำพระทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงบำบัดทุกข์บำรุงสุข แก่ประชาราษฎร์ปวงชนชาวไทย ในการแก้ไขปัญหาการ จัดสรรทรัพยากรของน้ำ โดยทรงมีพระราชดำริให้จัดสร้าง “เขื่อนขุนด่านปราการชล”, ทดสอบกำลังแขน ด้วยกิจกรรมบนสายน้ำ “ล่องแก่งลำน้ำนครนายก” ยามบ่ายหลบร้อนเข้าสวน ชวนชิมมะปรางหวานมะยงชิด และเลือกซื้อเป็นของฝาก ก่อนจะเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ

นอกจากนี้ จังหวัดนครนายก ร่วมกับชมรมชาวสวนมะปรางนครนายก กำหนดจัดงาน มะยงชิด มะปรางหวาน จังหวัดนครนายก ระหว่างวันที่ 20 – 26 กุมภาพันธ์นี้ ณ บริเวณด้านข้างศาลากลางจังหวัดนครนายก สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเกษตรจังหวัดนครนายก โทร.037-311-289, 037-312-710 หรือ ชมรมสวนมะปราง จังหวัดนครนายก 087-940-7707 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และขอรับตัวอย่างเส้นทางท่องเที่ยวได้ที่ สำนักงาน ททท. ภาคกลางเขต 8 โทร. 037-312-282, 037-312-284, 1672 หรือคลิก www.tat8.com


Large_1
 
 
ลักษณะโดยทั่วไป ของมะปรางหรือมะยงชิด มะปราง เป็นไม้ผลที่มีทรงต้นค่อนข้างแหลมถึงทรงกระบอกมีกิ่งก้านสาขาค่อนข้างทึบ มะปรางเป็นไม้ผลเมืองร้อนไม่มีการผลัดใบคือ จะมีใบสีเขียวตลอดทั้งปี มีชื่อสามัญว่า Marian plum ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Boueaburmanica Griff. ตระกูลเดียวกันมะม่วง มะกอก คือ ตระกูล Amacardiaceae มีถิ่นกำเนิดทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ พม่า ไทย ลาว และมาเลเซีย ส่วนต่างๆ ของมะปรางมีลักษณะดังนี้ ลักษณะลำต้นมะปรางหรือมะยงชิด ลำต้น มะปรางเป็นไม้ผลที่มีทรงต้นค่อนข้างแหลมถึงทรงกระบอกมีกิ่งก้านสาขาค่อนข้าง ทึบ ทรงต้นมีขนาดสูงปานกลาง-ใหญ่ ประมาณ 15-30 เมตร มีระบบรากแก้วเข็งแรง จึงทนอยู่ในสภาพที่แห้งแล้งได้ดี ลักษณะใบ มะปรางหรือมะยงชิด ใบ มะปรางเป็นไม้ผลที่มีใบมากแน่นทึบ ใบคล้ายใบมะม่วงแต่มีขนาดเล็กกว่า และใบเรียวยาว ขนาดใบโดยเฉลี่ยกว้าง 3.5 เซนติเมตร ยาว 14 เซนติเมตร ใบจะเกิดเป็นคู่อยู่ตรงกันข้าม ขอบใบเรียบแผ่นใบเหนียว ใบอ่อนที่แตกออกมาใหม่ๆ จะมีสีม่วงแดง มีเส้นใบเด่นชัด จากนั้นค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเขียวเป็นมัน ปีหนึ่งมะปรางจะแตกใบอ่อน 1-3 ครั้ง ลักษณะดอก มะปรางหรือมะยงชิด ดอก ดอกมะปรางจะมีลักษณะเป็นช่อเกิดบริเวณปลายกิ่งแขนงที่อยู่ภายในทรงพุ่มและ นอกทรง พุ่ม ช่อดอกยาว 8-15 เซนติเมตร ดอกย่อมมีขนาดเล็กประกอบด้วยดอกสมบูรณ์เพศ หรือดอกกระเทยและดอกตัวผู้ ดอกเมื่อบานจะมีสีเหลือง ในประเทศไทยดอกมะปรางจะบานช่วงเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม ลักษณะผล มะปรางหรือมะยงชิด ผล มะปรางมีลักษณะทรงกลมรูปไข่ ปลายค่อนข้างเรียวแหลม มะปรางช่อหนึ่งจะมีผล 1-15 ผล รูปร่างและขนาดของผลมะปรางจะแตกต่างกันในแต่ละพันธุ์ ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อนเมื่อแก่หรือสุกผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือเหลืองอมส้ม เปลือกผลนิ่ม ลักษณะเมล็ด มะปรางหรือมะยงชิด เมล็ด มะปรางผลหนึ่งจะมี 1 เมล็ด ส่วนหุ้มเมล็ดจะเป็นเส้นใย เนื้อของเมล็ดมีสีชมพูอมม่วง มีรสขมและฝาดใน 1 เมล็ดสามารถเพาะกล้าเป็นต้นมะปรางได้ 1 ต้น

ประโยชน์ของ มะปรางและมะยงชิด

ประโยชน์ของ มะปรางและมะยงชิด



สำหรับคุณค่าทางอาหาร และสรรพคุณมะปราง และมะยงชิด
ในมะปราง ซึ่งมีวิตามินเอสูง ที่ช่วยในบำรุงสายตา ยังมีแคลเซียม และฟอสฟอรัส ที่จะช่วยในการบำรุงกระดูกและฟันของเราให้แข็งแรง นอกจากนี้ ในมะปรางยังมีคาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน เหล็ก ไนอะซิน วิตามินบี และวิตามินซี ที่มีปริมาณที่มากอีด้วยล่ะ

ความแตกต่างระหว่าง มะปรางหวานกับมะยงชิด
ลักษณะโดยรวม

โดยทั่วไปแล้ว มะปรางกับมะยงชิด เป็นพืชในกลุ่มตระกูลเดียวกัน นั้นเอง ทั้งนี้ อาจเนื่องมาจากมีการปลูกโดยการใช้เมล็ด และเกิดมีการกลายพันธุ์ขึ้นมาอีกด้วย
จึงทำให้มีลักษณะ ที่แสดงออกมาแตกต่างกันออกไป จึงทำให้มะปราง ได้ถูกเรียกแยกออกเป็นหลายๆกลุ่ม อย่างเช่น มะปรางหวาน
มะยงชิดมาก มะยงชิดน้อย มะปรางเปรี้ยว กาวาง ซึ่งเราอาจจะเห็นได้ว่า การแบ่งลักษณะ ของมะปรางออก สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มได้ 5 กลุ่ม
โดยการใช้ลักษณะของรสชาติ ของมะปรางเป็นหลักส่วนใหญ่ และขนาดผลของมะปรางร่วม ด้วย ซึ่งจะมีลักษณะเป็นทรงพุ่ม และมีขนาดของใบ การเรียงตัวของใบ เส้นใบ ที่แตกต่างกัน สีของยอดอ่อน รสของยอดอ่อน แต่ยังไม่มีการศึกษาถึงลักษณะ เหล่านี้เพื่อช่วยคัดแยกกลุ่มของมะปราง และจากการแยก
ของทางการเกษตรกร หรือนักวิชาการ ทั่วๆไป ก็ไม่ใช้ลักษณะเหล่านี้ แต่เนื่องจาก ใช้ลักษณะเหล่านี้แล้วแยกออกไม่เด่นชัด  นอกเหนือจากรสชาติ และขนาดผล เพียงเท่านั้น



ความแตกต่าง
มะปรางหวาน
- ผลดิบจะมีรสมัน
- ผลสุกมีรสหวาน-หวานจืด
- โดยรวมขนาดจะเล็กกว่ามะยงชิด
- บางสายพันธุ์ เมื่อทานแล้วจะคันคอ
- ผลสุกจะมีสีออกเหลือง
มะยงชิด 
- ผลดิบจะมีรสเปรี้ยว
- ผลสุกมีรสหวานอมเปรี้ยว
- โดยรวมผลจะมีขนาดใหญ่กว่า มะปรางหวาน
- โดยรวมแล้ว ทานแล้วไม่ทำให้เกิดอาการคันคอ
- ผลสุกจะมีสีออกเหลืองอมส้ม

การคัดมะปรางชนิดผลใหญ่



มะปรางชนิดผลใหญ่เป็นมะปรางที่มีราคาสูงกว่ามะปรางผลเล็ก กิ่งพันธุ์ดีมีราคาแพง ไม่ทราบชื่อพันธุ์ที่แน่นอน และขาดแหล่งพันธุ์ดีที่เชื่อถือได้ ด้วยเหตุดังกล่าวศูนย์วิจัยพืชสวนพิจิตรจง ได้ดำเนินการคัด Clone มะปรางชนิดผลใหญ่ขึ้น เพื่อให้ได้มะปรางหวานและมะปรางมะยงชิดชนิด ผลใหญ่ที่ให้ผลผลิตสูง ผลมีคุณภาพดีตรงกับความต้องการของตลาด สำหรับแนะนำให้เกษตรกร แต่ละท้องถิ่นปลูกเป็นการค้า โดยติดตามศึกษาผลผลิตและคุณภาพของผลมะปรางหวานและมะปรางมะยงชิด จากต้นที่ปลูกจากต้นเพาะเมล็ดเป็นต้นที่ดีเด่นของแต่ละท้องถิ่นหรือเป็นต้น มะปรางที่เคยชนะการประกวดระดับจังหวัดมาก่อน จำนวน 61 สายต้น เป็นมะปรางหวาน 32 สายต้น และมะปรางมะยงชิด 29 สายต้น ติดตามผลผลิต 3 ปี ประเมินความดีเด่นของแต่ละสายต้น ปีที่1 จาก 61 สายต้น คัดเลือกเหลือ 40 สายต้น ปีที่ 2 คัดเลือกเหลือ 20 สายต้น ปีที่3 เหลือสายต้นที่ดีเด่น 6 สายต้น เป็นมะปรางหวาน 3 สายต้น และมะปรางมะยงชิด 3 สายต้น สายต้นของมะปรางหวาน และมะปรางมะยงชิดที่ให้ผลผลิตสูง ผลมีคุณภาพดีเหมาะสมในการแนะนำพันธุ์ให้เกษตรกรแต่ละท้องถิ่นปลูกเป็นการค้า ในขณะนี้ มะปรางหวานสายต้นที่ดีเด่นที่สุดเป็น พจ 01 รองมาเป็น พจ 031 และพจ 09 ส่วนมะปรางมะยงชิดสายต้นที่ดีเด่นที่สุดเป็นสายพันธุ์ พจ 001 รองมาเป็น พจ 007 และ พจ 0026
มะปรางที่ปลูกในประเทศไทยสามารถแบ่งออกตามขนาดของผลได้ 2 ชนิด คือ
มะปรางชนิดผลเล็กและมะปรางชนิดผลใหญ่ และถ้าแบ่งตามรสชาติของผลแบ่งได้3 ประเภทคือ มะปรางเปรี้ยว มะปรางหวาน และมะปรางมะยง ซึ่งมะปรางมะยงนั้นเป็นมะปรางที่มีรสหวานและเปรี้ยวอยู่ในผลเดียวกัน ถ้าหวานมากกว่าเปรี้ยวเรียกว่า มะยงชิด และถ้าเปรี้ยวมากกว่าหวานจะเรียกว่า มะยงห่าง มะปรางเป็นไม้ผลที่มีการออกดอกและติดผลได้ง่ายกว่าไม้ผลบางชนิดและไม่มีการ เว้นปี ผลผลิตของมะปรางจะออกสู่ตลาดประมาณเดือนมกราคม-มีนาคม ซึ่งอยู่ในช่วงดังกล่าวนี้จะมีผลไม้ผลอื่น ๆ ออกสู่ตลาดน้อย จึงมีผลทำให้มะปรางจำหน่ายได้ดี โดยทั่ว ๆ ไปมะปรางชนิดผลเล็ก ราคาประมาณ 5-20 บาท ส่วนมะปรางชนิดผลใหญ่จะมีราคา 80-300 บาท ปัจจุบันนี้มะปรางชนิด ผลใหญ่เป็นมะปรางที่เกษตรกรให้ความสนใจมากพืชหนึ่ง การปลูกมะปรางชนิดผลใหญ่ยังมีปัญหา อีกมากโดยเฉพาะกิ่งพันธุ์ดีมีราคาสูงมาก ตั้งแต่ 100-1,000 บาท ไม่ทราบชื่อพันธุ์ที่แน่นอนและขาด แหล่งพันธุ์ดีที่เชี่อถือได้ ด้วยเหตุดังกล่าวศูนย์วิจัยพืชสวนพิจิตรจงมีการคัดเลือก Clone มะปราง ชนิดผลใหญ่ ทั้งมะปรางหวานและมะปรางมะยงชิดที่ให้ผลผลิตสูง ผลมีคุณภาพดีตรงกับ ความต้องการของตลาด สำหรับแนะนำส่งเสริมเกษตรกรแต่ละสภาพท้องถิ่นเพื่อปลูกเป็นการค้าต่อไป จากการติดตามศึกษาผลผลิตและคุณภาพของผลมะปรางหวานและมะปรางมะยงชิดจากต้นที่ ปลูกจากต้นเพาะเมล็ดเป็นต้นที่ดีเด่นของแต่ละท้องถิ่นหรือเป็นต้นมะปรางที่ เคยชนะการประกวดระดับจังหวัดมาก่อน ติดตามผลผลิต 3 ปี พบว่าพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง ผลมีคุณภาพดีเหมาะสม ในการแนะนำให้เกษตรกรปลูกเป็นการค้าในขณะนี้คือ มะปรางหวานสายต้นที่ดีเด่นที่สุดเป็นพันธุ์ พจ. 01 จากจ.สุโขทัย อายุต้นประมาณ 38 ปี ให้ผลผลิตเฉลี่ย 238 กก./ต้น นํ้าหนักผล 52.5 กรัม จำนวน 19 ผล/กก. ความหวาน16.7 องศาบริกซ์รสหวาน รองลงมาเป็นพันธุ์พจ.031 จากจ.อ่างทอง อายุต้นประมาณ 116 ปี ให้ผลผลิตเฉลี่ย 240 กก./ต้น นํ้าหนักผล 51.3 กรัม จำนวนผล 19 ผล/ กก. ความหวาน 16.0 องศาบริกช์ รสหวาน และพันธุ์พจ.09 จากจ.อุตรดิตถ์ อายุต้นประมาณ 45 ปี ผลผลิตเฉลี่ย 197 กก./ต้น นํ้าหนักผล 51.3 กรัม จำนวนผล 19 ผล/กก. ความหวาน 15.0 องศา บริกช์ รสหวาน ส่วนมะปรางมะยงชิดสายต้นที่ดีเด่นที่สุดเป็นพันธุ์พจ.001 จากจ.สุโขทัย อายุต้น ประมาณ 27 ปี ผลผลิตเฉลี่ย 198 กก./ต้น นํ้าหนักผล 54.4 กรัม จำนวน 18 ผล/กก. ความหวาน 15.9 องศาบริกช์ รส.หวานอมเปรี้ยว รองลงมาเป็นพันธุพจ. 007 จากจ.พิษณุโลก อายุต้น 28 ปี ผลผลิตเฉลี่ย 235 กก./ต้น นํ้าหนักผล 55.7 กรัม จำนวนผล 18 ผล/กก. ความหวาน 16.0 องศาบริกช์ รสหวานอมเปรี้ยว และสุดท้ายเป็นพันธุ์พจ.0026 จากจ.อ่างทอง อายุต้น 35 ปี ผลผลิตเฉลี่ย 245กก./ ต้น นํ้าหนักผล 55.5 กรัม จำนวนผล 18 ผล/กก. ความหวาน 17.2 องศาบริกช์ รสหวานอมเปรี้ยว นอกจากนี้ยังพบว่าผลผลิตและคุณภาพของผลผลิตแปรปรวนไปตามสภาพแวดล้อม การดูแล รักษาทั้งการให้น้ำและปุ๋ย
ดังนั้นในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เพียง 1-2 ปี อาจจะผิดพลาดได้ จึง ควรเก็บเกี่ยวผลและบันทึกข้อมูลอื่น ๆ มาศึกษาอย่างน้อย 3 ปี จึงจะแน่ใจได้ว่ามะปรางหวานและ มะปรางมะยงชิดแต่ละสายต้นคัดเลือกนั้นเป็นสายต้นที่มีคุณภาพของผลผลิตดีจริง ๆ

นรินทร์  พูลเพิ่ม. ชำนาญ  ทองกลัด ณัฐพล  วิโรจนะ  มานิตย์  ปัณฑะดิษฐ์
ณรงค์ แดงเปี่ยม, เอนก บางข่า, ดวงพร  อมัติรัตนะ
.ศูนย์วิจัยพืชสวนพิจิตร.

“มะยงชิด - มะปรางหวาน” ของดีของจังหวัดนครนายก

หากใครที่มีโอกาสขับรถไปแถบจังหวัดนครนายกในช่วง นี้แล้ว อยากจะหา “ของฝาก” ให้กับคนที่บ้านแล้วล่ะก็ ต้องไม่ลืมที่จะนึกถึง “มะยงชิด - มะปรางหวาน” ของดีของจังหวัดนครนายก

      “มะยง” เป็นผลไม้ที่มีรูปร่างคล้ายกับ “มะปราง” แต่ก็มีสิ่งที่ต่างกัน โดยมะยงนั้นเป็น มีสองรสในหนึ่งผล คือ “หวานอมเปรี้ยว” แต่ถ้ามะยงมีรสหวานมากกว่าเปรี้ยวก็จะเรียกว่า “มะยงชิด” หากมีรสชาติเปรี้ยวมากกว่าหวาน ก็จะเรียกว่า “มะยง หรือมะยงห่าง” ถ้าได้รับการดูแลรักษาดี ๆ ผลของมะยงจะใหญ่กว่าไข่ไก่ซะอีก โดยเฉลี่ย 1 กิโลกรัมมี 8-15 ผล ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 100 - 300 บาท

       ส่วน “มะปราง” นั้น จะแบ่งรสชาติกันอย่างชัดเจน คือ หวานจัด กับเปรี้ยวจัด โดย มะปรางหวาน ผลสุกมีรสหวานเย็น ผลยาวรี มะปรางเปรี้ยว ผลสุกลูกมีขนาดใหญ่ ผิวสีส้มชวนรับประทาน แต่รสชาติเปรี้ยวมาก

      ด้วยรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ และหารับประทานได้เฉพาะหน้าแล้ว ทำให้ “มะยงชิด - มะปรางหวาน” กลายเป็นผลไม้ยอดฮิตในช่วงเดือนนี้เลยก็ว่าได้




ที่มา http://www.dailynews.co.th/

การปลูกมะปราง

การปลูกมะปราง

การปลูก

ฤดู ที่เหมาะสมที่สุดในการปลูกมะปรางควรปลูกต้นฤดูฝน ส่วนเวลาปลูกนั้น ควรปลูกในตอนเช้าหรือตอนเย็น ซึ่งเป็นช่วงที่อากาศไม่ร้อน วิธีปลูกให้นำกิ่งต้นพันธ์วางปากหลุม ถ้าเป็นกิ่งทาบควรใช้มีดกรีดพลาสติกที่พันโคนต้นออก แต่ถ้าเป็นกิ่งพันธุ์ที่ชำอยู่ในถุงพลาสติกสีดำ ใช้มีดกรีดด้านข้างก้นถุงโดยรอบ ก้นถุงพลาสติกจะหลุดออก ต่อจากนั้นยกต้นมะปรางไปปลูกลงหลุม กลบดินลงหลุมเล็กน้อย แล้วดึงถุงดำที่เหลือขึ้นมา ใช้มีดตัดออก กลบดินปลูกลงหลุมให้สูงกว่าระดับเดิมเล็กน้อย ใช้มือกดรอบ ๆ โคนต้นให้แน่น นำหลักไม้ไผ่มาปักโคนต้น ผูกต้นมะปรางกับหลักเพื่อกันลมโยก หลังจากนั้นรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ (นรินทร์,2537)


การปฏิบัติดูแลรักษาต้นมะปราง


ในการปลูกมะปรางเพื่อการค้า ผู้ปลุกควรปฏิบัติดูแลรักษามะปรางดังต่อไปนี้


1.การให้น้ำ โดยปกติมะปรางเป็นไม้ผลที่ค่อนข้างทนทานต่อความแห้งแล้ง แต่ถ้ามะปรางขาดน้ำก็จะไม่มีการแตกยอดใหม่ ทำให้มะปรางชะงักการเจริญเติบโต ดังนั้นมะปรางจึงมีความจำเป็นในการใช้น้ำ ในระยะแรกปลูก 2-3 เดือน ควรมีการให้น้ำให้ชุ่มอยู่เสมอเฉลี่ย 3-5 วันต่อครั้ง อายุ 3-6 เดือน ให้น้ำ 7-10 วันต่อครั้ง เว้นแต่ช่วงฝนตกงดการให้น้ำมะปรางที่อายุ 1 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะช่วงฤดูแล้ง ควรมีการรดน้ำ 15-20 วันต่อครั้ง (นรินทร์,2537)


ประเภท ของน้ำที่ใช้กับต้นมะปรางนั้น น้ำที่ได้มาจากแม่น้ำ, ลำคลอง, หนอง, บึง เมื่อนำมารดจะได้ประโยชน์มากกว่าน้ำบาดาล เพราะมีแร่ธาตุอาหารปนมาด้วย โดยปกติแล้วน้ำที่จะนำมารดให้กับต้นมะปราง ควรมีค่า pH 6.5-7.0 กล่าวคือควรมีสภาพเป็นกลาง (ทวีศักดิ์,2537)


2.การใส่ปุ๋ย มะปรางขึ้นได้ในดินหลายชนิดทั้งดินเหนียว ดินร่วน และดินร่วนปนทราย ถ้าปลูกมะปรางในแหล่งอุดมสมบูรณ์สูง มีธาตุอาหารอย่างพอเพียง ต้นมะปรางจะเจริญได้ดี ปัจจุบันแหล่งดินที่อุดมสมบูรณ์หายาก วิธีที่จะปรับปรุงคุณภาพของดินคือการใส่ปุ๋ยบำรุงดิน (นรินทร์,2537)


ในการใส่ปุ๋ยให้ใส่ปุ๋ยคอก และปุ๋ยหมักเป็นหลัก ใช้ปุ๋ยเคมีเป็นรองโดยถือว่า


1.ระยะพืชกำลังเจริญเติบโตควรใช้ปุ๋ยที่มี N-P-K ในสัดส่วน 1:1:1 เช่นปุ๋ยเกรด 15-15-15 เพื่อเสริมสร้างและทดแทนส่วนที่พืชนำไปใช้ในการแตกยอด ใบ กิ่งก้าน


2.ระยะใกล้ออกดอก ควรใช้ปุ๋ยที่มีสัดส่วนของฟอสฟอรัสสูง เช่นปุ๋ยเกรด 8-24-24


3.ระยะที่พืชติดผลแล้ว ให้ใช้ปุ๋ยที่มีธาตุโปแตสเซียม เช่นปุ๋ยเกรด 13-13-21 หรือ 12-17-2 เพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิต (ฐานเกษตรกรรม,2538)


3.การพรวนดินและคลุมโคนต้น ควรหาฟางข้าวหรือเศษหญ้ามาคลุมบริเวณโคนต้นที่ทำการพรวนดินเพื่อรักษาความ ชื้น การพรวนดินรอบ ๆ โคนต้นควรทำทุกปี ปีละ 3 ครั้ง คือช่วงต้นฝน ปลายฤดูฝน(ต้นฤดูหนาว) และฤดูร้อน ถ้าเป็นไปได้การพรวนดินและคลุมโคนต้นนั้นควรทำพร้อม ๆ กันกับการใส่ปุ๋ย


4.การกำจัดวัชพืช วิธีป้องกันกำจัดวัชพืชดำเนินการได้หลายวิธี ได้แก่ การถากหญ้ารอบโคนต้น การใช้มีดฟันหญ้า การใช้เครื่องตัดหญ้า การใช้สารเคมีคลุมวัชพืชหรือฆ่าวัชพืช


5.การพรางแสง มะปรางขึ้นได้ทั้งในที่มีแดดรำไรและในแสงแดดจ้า แต่การปลูกในที่พรางแสง จะมีการเจริญเติบโตได้ดีกว่าการปลุกกลางแจ้ง ฉะนั้นการสร้างสวนมะปรางเพื่อการค้า ในระยะ 1-3 ปีแรก ควรมีการปลุกกล้วยเป็นพืชแซม


6.การตัดแต่งกิ่ง ควรมีการตัดแต่งกิ่งมะปราง กิ่งที่หัก กิ่งที่เป็นโรค หรือกิ่งที่แห้งตายออกทุกปีด้วย


7.การตัดแต่งผล มะปรางที่มีการออกดอกเป็นช่อยาว 8-15 เซนติเมตร ในช่อหนึ่งอาจติดผลตั้งแต่ 1-5 ผล ควรมีการตัดแต่งผลมะปรางที่มากเกินไปออก เหลือช่อละ 1 ผล


8.การห่อผล วิธีห่อผล ใช้กระดาษแก้วสีขาวที่ใช้ทำว่าว หรืออาจใช้กระดาษฟางสีขาว พับเป็นถุงเล็ก ๆ นำไปห่อมะปรางตั้งแต่ผลยังเขียว การห่อผลจะต้องทำด้วยความระมัดระวัง


9.การเก็บเกี่ยว ในการเก็บเกี่ยวมะปรางแต่ละครั้ง ไม่ว่าผลแก่หรือผลอ่อน ควรเก็บเกี่ยวด้วยความระมัดระวัง ถ้าไม่ระวังผลมะปรางอาจจะกระทบกระเทือน ผลจะช้ำ




ขอบคุณเนื้อหาจาก http://www.infoforthai.com/forum/topic/4700

มะปราง สมุนไพร ยาแก้ไข้ ลดความร้อน


มะปราง

มะปราง
มะปราง หรือ ปราง อาจจะเป็นผลไม้ที่ใครๆหลายๆคนชื่นชอบ รูปร่างลักษณะคล้าย มะยงชิด จนแทบแยกไม่ออก มะปรางเป็นผลไม้สีเหลือง รูปร่างคล้ายไข่ไก่ รสชาติเปรี้ยวอมหวาน นอกจากรับประทานเพื่อความอร่อยแล้ว มะปรางยังจัดเป็นสมุนไพรอีกด้วยนะคะ วันนี้ ThaiHealth.in.th มีความรู้และสาระดีดีเกี่ยวกับประโยชน์ มะปราง มาแนะนำกันว่า ส่วนใดของมะปราง สามารถทำอะไรได้บ้าง

ส่วนที่ใช้ :  ราก ใบ น้ำจากต้น

มะปราง

มะปราง
สรรพคุณ : มะปราง
รากมะปราง – แก้ไข้กลับ ถอนพิษสำแดง
ใบมะปราง- ยาพอกแก้ปวดศีรษะ
น้ำจากต้นมะปราง – ยาอมกลั้วคอ

โดย : สายน้ำ/ ThaiHealth.in.th