Sunday, February 10, 2013

ปฏิทินการปฏิบัติดูแลรักษา

ปฏิทินการปฏิบัติดูแลรักษา

การปฏิบัติเพื่อเตรียมความสมบูรณ์ของต้นหลังเก็บเกี่ยว

เมษายน-พฤษภาคม

 เป็นช่วงหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต จึงต้องเร่งบำรุงต้นให้สมบูรณ์ จึงเริ่มต้นจาก การตัดแต่งกิ่ง โดยตัดกิ่งที่โรคแมลงทำลายเสียหาย
เช่น กิ่งแห้ง กิ่งฉีกหัก กิ่งน้ำค้าง กิ่งซ้อนกันออก การกำจัดวัชพืช โดยทำความสะอาดแปลงและกำจัดวัชพืช การใส่ปุ๋ย
จะใส่เมื่อตัดแต่งกิ่งและกำจัดวัชพืชแล้ว ใส่ปุ๋ยเพื่อเร่งการแตกยอดใหม่ โดยใส่ปุ๋ยคอก อัตรา 1-3 ปี๊ป / ต้น ใส่ปุ๋ยเคมี
สูตร 15-15-15 อัตรา 2 กิโลกรัม/ ต้น การให้น้ำ ให้น้ำตามปกติอย่าปล่อยให้ขาดน้ำ

มิถุนายน - สิงหาคม
 เป็นระยะที่มะปรางแตกใบอ่อนและเจริญเติบโตทางใบ จึงเน้น การป้องกันกำจัดโรคและแมลง โดยเฉพาะโรคแอนแทรคโนส
ราดำ ราแป้ง ซึ่งจะทำลายใบและกิ่ง ถ้ามีการระบาดแนะนำให้ใช้ ้เบนโนมิล แคพแทน แมนโคเซป ส่วนแมลงที่ทำลายใบและลำต้น
 เช่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยหอย แมลงค่อมทอง เพลี้ยจั๊กจั่น ถ้ามีการระบาดแนะนำให้ใช้สารเคมีป้องกันจำพวก คาร์บาริล การให้น้ำ
ให้น้ำถ้าฝนทิ้งช่วง อายุ 1 ปีขึ้นไป ให้น้ำ 5-7 วัน/ ครั้ง การกำจัดวัชพืช  ดูแลอย่าให้วัชพืชขึ้นรก เพราะจะเป็นแหล่งสะสมโรคแมลง

กันยายน - ตุลาคม 
เป็นระยะที่ใบเริ่มแก่จัด ต้นมะปรางจะเข้าสู่ ระยะฟักตัวและสะสมอาหาร การปฏิบัติดูแลรักษาช่วงนี้ ควรงดการให้น้ำ
ถ้าเป็นในที่ลุ่ม ปลูกแบบยกร่อง ให้ลดระดับน้ำในร่อง เพื่อให้พืชฟักตัวสะสมอาหารและไม่แตกใบอ่อน การใส่ปุ๋ย
ใส่ปุ๋ยเพื่อช่วยในการสร้างตาดอก ใช้สูตร 12-24-12 และ งดการใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง ถ้าต้นมะปรางอายุ 4-5 ปี
ใส่ปุ๋ยอัตรา 0.5 กิโลกรัม/ ต้น การกำจัดวัชพืช ให้กำจัดวัชพืชใต้ทรงพุ่มออกให้หมด




การปฏิบัติในช่วงการออกดอกติดผลอ่อน


พฤศจิกายน

เป็นช่วงระยะเริ่มแทงช่อดอกและดอกเริ่มบานในช่วงปลายเดือน ดังนั้น การให้น้ำ จะต้องระมัดระวัง โดยเริ่มให้น้ำเล็กน้อย
เมื่อแทงช่อดอกยาวประมาณ 7 เซนติเมตร แค่หน้าดินเปียกและให้อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ดอกมีความสมบูรณ์
ซึ่งจะทำให้ติดผลดี การป้องกันกำจัดโรคแมลง ควรป้องกันกำจัดแมลงประเภทเพลี้ยไฟ เพลี้ยหอย แมลงค่อมทอง
ครั้งที่ 2 ช่อดอกยืดแล้วแต่ยังไม่บาน การปฏิบัติอื่นๆ  เช่น ในช่วงที่มะปรางเริ่มแทงช่อดอก ให้นำปุ๋ยคอกสด ๆ มากอง
ในสวนเพื่อเลี้ยงแมลงวัน สำหรับช่วยในการผสมเกสร

ธันวาคม
เป็นระยะที่ดอกทยอยบานและติดผลขนาดเล็ก จึงต้องปฏิบัติดูแลรักษาเป็นกรณีพิเศษ โดย การให้น้ำ
เมื่อติดผลแล้วให้เพิ่มปริมาณน้ำมากขึ้นที่ละน้อย อย่าให้แบบทันที่ซึ่งอาจมีผลต่อการร่วงของผลอ่อน การใส่ปุ๋ย 
เมื่อติดผลอ่อนขนาดหัวไม้ขีด ให้ใส่ปุ๋ยเร่งการเจริญเติบโตของผล คือ ใส่ปุ๋ยเคมีที่มีตัวท้ายสูง เช่น 13-13-21
 อัตรา 1-2 กิโลกรัม/ ต้น (ประมาณตามอายุ/ขนาดของทรงพุ่ม) การป้องกันกำจัดโรคแมลง เมื่อดอกบาน
ให้หยุดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคแมลงทุกชนิดทันที ระยะผลโตขนาดหัวไม้ขีด ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง
 เช่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยหอย โดยใช้คาร์บาริล และผสมสารเคมีป้องกันกำจัดโรครา เช่น เบนโนบิล ไธอะเบนดาโซล
ป้องกันโรคแอนแทรคโนส ราดำ ราแป้ง


การปฏิบัติในช่วงผลกำลังเจริญเติบโต





มกราคม

เป็นระยะที่ผลกำลังเจริญเติบโต การให้น้ำ ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ 3-5 วัน/ครั้ง การป้องกันกำจัดโรคแมลง
ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง เช่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยหอย โดยใช้คาร์บาริล และผสมสารเคมีป้องกันกำจัดโรครา
 เช่น เบนโนบิล ไธอะเบนดาโซล ป้องกันโรคแอนแทรคโนส ราดำ ราแป้ง ให้ห่อผลเมื่อผลอายุ 3 อาทิตย์
เพื่อป้องกันแมลงวันผลไม้ นก และเพื่อเพิ่มคุณภาพผล

3 comments:

  1. ปีที่แล้วออกดอก3ครั้ง ครั้ง2ออกเยอะมาก แต่ไม่ติดลูกเลย ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี นอกจากปุ๋ยมูลวัวเท่านั้น ช่อดอกยาว5-7ซม.

    ReplyDelete
  2. ระวังช่วงออกดอก กำลังติดผล พืชจะช๊อคอากาศในช่วงนี้ ทำให้ดอกร่วง ผลร่วง ไม่ได้ผลผลิต

    ReplyDelete
  3. ห่วงเรื่องดอกร่วง ไม่ติดลูก ควบคุมยากมาก ดอกสพรั่งติดลูกนิดเดียว

    ReplyDelete