Tuesday, November 20, 2012

การดูแลรักษามะยงชิด

การดูแลรักษามะยงชิด

การให้น้ำ : ภายใน 4-5 วันควรมีการให้น้ำ 1 ครั้ง (ในช่วงปลูกใหม่ปีแรก) ใส่ปุ๋ยทุกๆ 6 เดือน (นับจากวันปลูก) แนะนำให้ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์เป็นหลัก ส่วนปุ๋ยทางใบจะฉีด เมื่อมะยงชิดเริ่มแตกใบอ่อนให้ฉีดพ่นทุกๆ 7 วัน จนกว่าใบจะเพสลาด จึงหยุดฉีดโดยอาจผสมกับสารไล่แมลงพร้อมกับอาหารเสริมชีวภาพ

การให้ปุ๋ย : ควรให้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก ตั้งแต่เริ่มปลูก 1-3 ปี ปีละครั้ง ช่วงต้นฝน สำหรับต้นที่โตให้ผลผลิตแล้ว ควรมีการตัดแต่งกิ่งออกบ้างหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต โดยจัดการเอากิ่งที่เป็นโรคหรือกลิ่นที่แน่นทึบออก และกำจัดวัชพืช

การให้ปุ๋ย ควรให้สูตรเคมีสูตรเสมอ 16-16-16 พร้อมปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยหมักแห้ง ครั้งที่ 2 ให้ใส่เมื่อก่อนหมดฝน ด้วยปุ๋ยสูตร 8-24-24 พร้อมปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยหมักแห้ง เพื่อให้ต้นมีการสะสมอาหารไว้ให้พร้อมต่อการออกดอกผลในฤดูการ ถัดไป

** เทคนิคลดการสูญเสียปุ๋ย และ ให้ต้นไม้ได้รับปุ๋ยอย่างเต็มที่ ควรยอร่องเล็กๆ ตรงแนวรัศมีทรงพุ่มเป็นวงกลมล้อรอบต้นมะยงชิด ปุ๋ยจะได้ไม่ไหลหนีไปกับน้ำหรือน้ำฝน

โรคแมลง : ฉีดพ่นใบอ่อนที่แตกมาใหม่ด้วยน้ำสกัดจากสมุนไพร หรือ น้ำส้มควันไม้ ช่วงติดดอก ออกผลก็จะมีการใช้สารเคมีควบคู่ไปด้วย



การตลาด

ปัจจุบันมีการคัดเลือกขนาดประมาณ 12-15 ผลต่อกิโลกรัม บรรจุกล่องสวยงามมีหูจับถือ เป้นการเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ จำหน่ายจากสวนราคา 150- 200 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนลูกค้าจะเป็นลูกค้าขาประจำที่เคยซื้อกันมาโดยจะจำหน่ายตามคำสั่งซื้อ ล่วงหน้าเป็นปีๆ หรือที่ลุกค้าสั่งจองไว้เมื่อต้นปีก่อน ส่วนมากจะเป็น ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานธนาคาร ห้างร้านต่างๆ จะนิยมซื้อไปเป็นของฝาก
**ข้อคิดเกี่ยวกับการปลูกมะปราง-มะยงชิด เสริมราก จากประสบการณ์ของตาพ้อม **
จากประสบการ์การทำสวนไม้ผลมากว่า 20 ปี ได้คลุกคลีอยู่กับมะปราง-มะยงชิดมานาน จะพบว่า ช่วงหลังๆ จะมีสมาชิกสั่งซื้อกิ่งพันธุ์แบบมีการเสริมรากไปปลูกกันมาก แต่ตาพ้อมกลับคิดว่าการเสริมรากมะปราง-มะยงชิดกลีบไม่ให้ผลดีที่แตกต่างแต่ อย่างใด เพราะพบว่าการปลูกมะปราง-มะยงชิดที่มีการเสริมราก จะมีการแตกยอกออกมาไม่สม่ำเสมอกันทั้งต้น จึงมีผลต่อการให้ผลผลิตและการออกดอก ทำให้การออกดอกพลอยไม่สม่ำเสมอกันไปด้วย จึงยากต่อการดูแลรักษษ ใบอ่อนและช่อดอกรวมทั้งผลด้วย การเสริมรากจึงดูเหมือนกับว่าจะทำให้การเจริญเติบโตนั้นดีกว่าเดิม แต่จริงๆแล้ว แทบจะไม่แตกต่างไปจากการปลูกแบบธรรมดาทั่วไปแต่ประการใด สาเหตุที่เป็นเช่นนี้อาจเพราะระบบรากของต้นเดิมและรากที่นำมาเสริมนั้นมี ความสามารถในการหาอาหารต่างกัน หรือ ไม่สม่ำเสมอกันนั่นเอง

0 comments:

Post a Comment