Tuesday, October 23, 2012

การคัดมะปรางชนิดผลใหญ่



มะปรางชนิดผลใหญ่เป็นมะปรางที่มีราคาสูงกว่ามะปรางผลเล็ก กิ่งพันธุ์ดีมีราคาแพง ไม่ทราบชื่อพันธุ์ที่แน่นอน และขาดแหล่งพันธุ์ดีที่เชื่อถือได้ ด้วยเหตุดังกล่าวศูนย์วิจัยพืชสวนพิจิตรจง ได้ดำเนินการคัด Clone มะปรางชนิดผลใหญ่ขึ้น เพื่อให้ได้มะปรางหวานและมะปรางมะยงชิดชนิด ผลใหญ่ที่ให้ผลผลิตสูง ผลมีคุณภาพดีตรงกับความต้องการของตลาด สำหรับแนะนำให้เกษตรกร แต่ละท้องถิ่นปลูกเป็นการค้า โดยติดตามศึกษาผลผลิตและคุณภาพของผลมะปรางหวานและมะปรางมะยงชิด จากต้นที่ปลูกจากต้นเพาะเมล็ดเป็นต้นที่ดีเด่นของแต่ละท้องถิ่นหรือเป็นต้น มะปรางที่เคยชนะการประกวดระดับจังหวัดมาก่อน จำนวน 61 สายต้น เป็นมะปรางหวาน 32 สายต้น และมะปรางมะยงชิด 29 สายต้น ติดตามผลผลิต 3 ปี ประเมินความดีเด่นของแต่ละสายต้น ปีที่1 จาก 61 สายต้น คัดเลือกเหลือ 40 สายต้น ปีที่ 2 คัดเลือกเหลือ 20 สายต้น ปีที่3 เหลือสายต้นที่ดีเด่น 6 สายต้น เป็นมะปรางหวาน 3 สายต้น และมะปรางมะยงชิด 3 สายต้น สายต้นของมะปรางหวาน และมะปรางมะยงชิดที่ให้ผลผลิตสูง ผลมีคุณภาพดีเหมาะสมในการแนะนำพันธุ์ให้เกษตรกรแต่ละท้องถิ่นปลูกเป็นการค้า ในขณะนี้ มะปรางหวานสายต้นที่ดีเด่นที่สุดเป็น พจ 01 รองมาเป็น พจ 031 และพจ 09 ส่วนมะปรางมะยงชิดสายต้นที่ดีเด่นที่สุดเป็นสายพันธุ์ พจ 001 รองมาเป็น พจ 007 และ พจ 0026
มะปรางที่ปลูกในประเทศไทยสามารถแบ่งออกตามขนาดของผลได้ 2 ชนิด คือ
มะปรางชนิดผลเล็กและมะปรางชนิดผลใหญ่ และถ้าแบ่งตามรสชาติของผลแบ่งได้3 ประเภทคือ มะปรางเปรี้ยว มะปรางหวาน และมะปรางมะยง ซึ่งมะปรางมะยงนั้นเป็นมะปรางที่มีรสหวานและเปรี้ยวอยู่ในผลเดียวกัน ถ้าหวานมากกว่าเปรี้ยวเรียกว่า มะยงชิด และถ้าเปรี้ยวมากกว่าหวานจะเรียกว่า มะยงห่าง มะปรางเป็นไม้ผลที่มีการออกดอกและติดผลได้ง่ายกว่าไม้ผลบางชนิดและไม่มีการ เว้นปี ผลผลิตของมะปรางจะออกสู่ตลาดประมาณเดือนมกราคม-มีนาคม ซึ่งอยู่ในช่วงดังกล่าวนี้จะมีผลไม้ผลอื่น ๆ ออกสู่ตลาดน้อย จึงมีผลทำให้มะปรางจำหน่ายได้ดี โดยทั่ว ๆ ไปมะปรางชนิดผลเล็ก ราคาประมาณ 5-20 บาท ส่วนมะปรางชนิดผลใหญ่จะมีราคา 80-300 บาท ปัจจุบันนี้มะปรางชนิด ผลใหญ่เป็นมะปรางที่เกษตรกรให้ความสนใจมากพืชหนึ่ง การปลูกมะปรางชนิดผลใหญ่ยังมีปัญหา อีกมากโดยเฉพาะกิ่งพันธุ์ดีมีราคาสูงมาก ตั้งแต่ 100-1,000 บาท ไม่ทราบชื่อพันธุ์ที่แน่นอนและขาด แหล่งพันธุ์ดีที่เชี่อถือได้ ด้วยเหตุดังกล่าวศูนย์วิจัยพืชสวนพิจิตรจงมีการคัดเลือก Clone มะปราง ชนิดผลใหญ่ ทั้งมะปรางหวานและมะปรางมะยงชิดที่ให้ผลผลิตสูง ผลมีคุณภาพดีตรงกับ ความต้องการของตลาด สำหรับแนะนำส่งเสริมเกษตรกรแต่ละสภาพท้องถิ่นเพื่อปลูกเป็นการค้าต่อไป จากการติดตามศึกษาผลผลิตและคุณภาพของผลมะปรางหวานและมะปรางมะยงชิดจากต้นที่ ปลูกจากต้นเพาะเมล็ดเป็นต้นที่ดีเด่นของแต่ละท้องถิ่นหรือเป็นต้นมะปรางที่ เคยชนะการประกวดระดับจังหวัดมาก่อน ติดตามผลผลิต 3 ปี พบว่าพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง ผลมีคุณภาพดีเหมาะสม ในการแนะนำให้เกษตรกรปลูกเป็นการค้าในขณะนี้คือ มะปรางหวานสายต้นที่ดีเด่นที่สุดเป็นพันธุ์ พจ. 01 จากจ.สุโขทัย อายุต้นประมาณ 38 ปี ให้ผลผลิตเฉลี่ย 238 กก./ต้น นํ้าหนักผล 52.5 กรัม จำนวน 19 ผล/กก. ความหวาน16.7 องศาบริกซ์รสหวาน รองลงมาเป็นพันธุ์พจ.031 จากจ.อ่างทอง อายุต้นประมาณ 116 ปี ให้ผลผลิตเฉลี่ย 240 กก./ต้น นํ้าหนักผล 51.3 กรัม จำนวนผล 19 ผล/ กก. ความหวาน 16.0 องศาบริกช์ รสหวาน และพันธุ์พจ.09 จากจ.อุตรดิตถ์ อายุต้นประมาณ 45 ปี ผลผลิตเฉลี่ย 197 กก./ต้น นํ้าหนักผล 51.3 กรัม จำนวนผล 19 ผล/กก. ความหวาน 15.0 องศา บริกช์ รสหวาน ส่วนมะปรางมะยงชิดสายต้นที่ดีเด่นที่สุดเป็นพันธุ์พจ.001 จากจ.สุโขทัย อายุต้น ประมาณ 27 ปี ผลผลิตเฉลี่ย 198 กก./ต้น นํ้าหนักผล 54.4 กรัม จำนวน 18 ผล/กก. ความหวาน 15.9 องศาบริกช์ รส.หวานอมเปรี้ยว รองลงมาเป็นพันธุพจ. 007 จากจ.พิษณุโลก อายุต้น 28 ปี ผลผลิตเฉลี่ย 235 กก./ต้น นํ้าหนักผล 55.7 กรัม จำนวนผล 18 ผล/กก. ความหวาน 16.0 องศาบริกช์ รสหวานอมเปรี้ยว และสุดท้ายเป็นพันธุ์พจ.0026 จากจ.อ่างทอง อายุต้น 35 ปี ผลผลิตเฉลี่ย 245กก./ ต้น นํ้าหนักผล 55.5 กรัม จำนวนผล 18 ผล/กก. ความหวาน 17.2 องศาบริกช์ รสหวานอมเปรี้ยว นอกจากนี้ยังพบว่าผลผลิตและคุณภาพของผลผลิตแปรปรวนไปตามสภาพแวดล้อม การดูแล รักษาทั้งการให้น้ำและปุ๋ย
ดังนั้นในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เพียง 1-2 ปี อาจจะผิดพลาดได้ จึง ควรเก็บเกี่ยวผลและบันทึกข้อมูลอื่น ๆ มาศึกษาอย่างน้อย 3 ปี จึงจะแน่ใจได้ว่ามะปรางหวานและ มะปรางมะยงชิดแต่ละสายต้นคัดเลือกนั้นเป็นสายต้นที่มีคุณภาพของผลผลิตดีจริง ๆ

นรินทร์  พูลเพิ่ม. ชำนาญ  ทองกลัด ณัฐพล  วิโรจนะ  มานิตย์  ปัณฑะดิษฐ์
ณรงค์ แดงเปี่ยม, เอนก บางข่า, ดวงพร  อมัติรัตนะ
.ศูนย์วิจัยพืชสวนพิจิตร.

0 comments:

Post a Comment